วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ข้อจำกัดในการวิจัย/ขอบเขตของการวิจัย (Limitation)


                http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 ได้รวบรวมและกล่าวถึงขอบเขตของการวิจัย ไว้ว่า ขอบเขตของการวิจัย เป็นการระบุให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด เนื่องจากผู้วิจัยไม่สามารถทำการศึกษาได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น จึงต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้แน่นอน ว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง ซึ่งอาจทำได้โดยการกำหนดขอบเขตของเรื่องให้แคบลงเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของสาขาวิชา หรือกำหนดกลุ่มประชากร สถานที่วิจัย หรือระยะเวลา
                http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re7.htm  ได้รวบรวมและกล่าวถึงขอบเขตของการวิจัย ไว้ว่า ขอบเขตของการวิจัยนั้น เป็นการกำหนดข้อจำกัดที่แน่ชัดว่า ผู้วิจัยจะทำการวิจัยในขอบเขตที่กว้าง และลึกซึ้งเพียงใด มีอะไรบ้างถ้ามีความสัมพันธ์กัน ขอบเขต และข้อจำกัดของการวิจัยมีลักษณะแตกต่างกันดังนี้
                ขอบเขตการวิจัย (Delimtation) เป็นการกำหนดขอบเขต ที่จะทำงานวิจัยในปริมาณที่ต้องการ เป็นการจัดล้อมวงของงานวิจัยให้แคบลง โดยมุ่งจุดสนใจไปอยู่ที่ตัวปัญหาเฉพาะเรื่อง กลุ่มประชากรตัวอย่าง และระดับความเชื่อถือให้อยู่ในขอบเขตที่สามารถทำการวิจัยได้
                ข้อจำกัดของการวิจัย (Limitation) เป็นข้อคาดการณ์บางสิ่งที่อาจเกิดขึ้นโดยบังเอิญ และไม่อาจควบคุมได้ในงานวิจัย เช่น ข้อมูล แหล่งข้อมูล วิธีการที่ผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมได้ในการวิจัย ทำให้การศึกษานั้นไม่สำเร็จตามจุดมุ่งหมาย
                จำเรียง  กูรมะสุวรรณ (2529:162) กล่าวว่า ในการทำวิจัยถึงแม้ว่าจะมีการวางแผนอย่างดีแล้วก็ตาม ความคลาดเคลื่อน (error) ที่เกิดขึ้นเองจากลักษณะของกลุ่มตัวอย่างหรือจากตัวแปรภายนอก ฯลฯ ซึ่งผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมหรือหลีกเลี่ยงได้และสิ่งนั้นมีผลต่อข้อมูลที่เก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้ผลการวิจัยไม่สมบูรณ์ เกิดความบกพร่อง จึงควรจะกล่าวไว้ให้ผู้อ่านได้ทราบพร้อมทั้งเหตุผลทั้งนี้เพื่อที่ผู้จะนำผลการวิจัยไปใช้ จะได้พิจารณาความจำกัดของการวิจัยเรื่องนั้นๆ ด้วย
สรุป
                ขอบเขตของการวิจัย เป็นการระบุให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด เนื่องจากผู้วิจัยไม่สามารถทำการศึกษาได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น จึงต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้แน่นอน ว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง หรือกำหนดกลุ่มประชากร สถานที่วิจัย หรือระยะเวลา ถ้าผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมหรือหลีกเลี่ยงได้และสิ่งนั้นมีผลต่อข้อมูลที่เก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้ผลการวิจัยไม่สมบูรณ์ เกิดความบกพร่อง จึงควรจะกล่าวไว้ให้ผู้อ่านได้ทราบพร้อมทั้งเหตุผลทั้งนี้เพื่อที่ผู้จะนำผลการวิจัยไปใช้ จะได้พิจารณาความจำกัดของการวิจัยเรื่องนั้นๆ ด้วย
อ้างอิง
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2555
http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re7.htm  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2555
จำเรียง  กูรมะสุวรรณ. (2555). สถิติและการวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ:สามเจริญพานิช.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น