http://www.gotoknow.org/posts/451815 ได้รวบรวมและกล่าวถึงกรอบแนวความคิดในการวิจัยไว้ว่า
กรอบแนวคิดการวิจัย หมายถึง กรอบของการวิจัยในด้านเนื้อหาสาระ ซึ่งประกอบด้วยตัวแปร
และการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
http://www.gotoknow.org/posts/458772 ได้รวบรวมและกล่าวถึงกรอบแนวความคิดในการวิจัยไว้ว่า การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย
เป็นขั้นตอนของการนำเอาตัวแปรและประเด็นที่ต้องการทำวิจัยมาเชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฏีที่เกี่ยวข้องในรูปของคำบรรยาย
แบบจำลองแผนภาพหรือแบบผสมการวาง กรอบแนวคิดในการวิจัยที่ดี จะต้องชัดเจน
แสดงทิศทางของความสัมพันธ์ ของสิ่งที่ต้องการศึกษา หรือตัวแปรที่จะศึกษา
สามารถใช้เป็นกรอบในการกำหนดขอบเขตของการวิจัย การพัฒนาเครื่องมือในการวิจัย
รูปแบบการวิจัย ตลอดจนวิธีการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล
หลักสำคัญของการเขียนกรอบแนวคิดการวิจัย คือ
1. กำหนดตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ ไว้ด้านซ้ายมือ พร้อมทั้งใส่กรอบสี่เหลี่ยมไว้ เพื่อให้สามารถแยกแยะตัวแปรที่ต้องการศึกษาได้
2. กำหนดตัวแปรตาม ไว้ด้านขวามือ พร้อมทั้งใส่กรอบสี่เหลี่ยมไว้ เพื่อให้สามารถแยกแยะตัวแปรที่ต้องการศึกษาได้
ชนิดของกรอบความคิดการวิจัย
1.Working hypothesis กรอบความคิดการวิจัยอาจอยู่ในรูปแบบของสมมติฐาน(ชั่วคราว)
ซึ่งเมื่อมีการวิจัยที่เก็บข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้วอาจเปลี่ยนเป็นแบบอื่น
2. อยู่ในรูปแบบของการบรรยาย
(Descriptive catehories)
3. รูปแบบการคิดเชิงปฏิบัติ
(Practical ideal types)
4. รูปแบบเชิงปฏิบัติการ
(Model of operations research)
5. สมมติฐานที่เป็นทางการ
6. ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
7. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ที่ผู้วิจัยศึกษามา
8. กรอบแนวคิดของผู้วิจัยเองที่สังเคราะห์ขึ้นเองที่มาจากประสบการณ์
หรือการศึกษาค้นคว้ามาอย่างดี
1. กำหนดตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ ไว้ด้านซ้ายมือ พร้อมทั้งใส่กรอบสี่เหลี่ยมไว้ เพื่อให้สามารถแยกแยะตัวแปรที่ต้องการศึกษาได้
2. กำหนดตัวแปรตาม ไว้ด้านขวามือ พร้อมทั้งใส่กรอบสี่เหลี่ยมไว้ เพื่อให้สามารถแยกแยะตัวแปรที่ต้องการศึกษาได้
3. เขียนลูกศรชี้จากตัวแปรต้นแต่ละตัวมายังตัวแปรตามให้ครบทุกคู่ที่ต้องการศึกษา
http://www.gotoknow.org/posts/400137 ได้รวบรวมและกล่าวถึงกรอบแนวความคิดในการวิจัยไว้ว่า
กรอบแนวคิดการวิจัย หมายถึง
กรอบของการวิจัยในด้านเนื้อหาสาระ
ซึ่งประกอบด้วยตัวแปร
และการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
ในการสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย
ผู้วิจัยจะต้องมีกรอบพื้นฐานทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ศึกษาและมโนภาพ(concept)ในเรื่องนั้น
แล้วนำมาประมวลเป็นกรอบในการกำหนดตัวแปรและรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง
ๆ
ในลักษณะของกรอบแนวคิดการวิจัยและพัฒนาเป็นแบบจำลองในการวิจัยต่อไป
สรุป
กรอบแนวคิดการวิจัย เป็นการสังเคราะห์หรือบูรณาการแนวคิด ทฤษฎี
หลักการตลอดจนผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
โดยที่ผู้วัจัยได้นำมาพัฒนาขึ้นมาใหม่เพื่อใช้ในการวิจัยเรื่องนั้นโดยตรง
จุดมุ่งหมายหลักของการสังเคราะห์แนวคิดทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยมีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
ๆ ทั้งหมดที่ต้องการศึกษาอย่างเป็นระบบและมีเหตุมีผลรองรับทางวิชาการ
ชนิดของกรอบความคิดการวิจัย
1.Working hypothesis กรอบความคิดการวิจัยอาจอยู่ในรูปแบบของสมมติฐาน(ชั่วคราว)
ซึ่งเมื่อมีการวิจัยที่เก็บข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้วอาจเปลี่ยนเป็นแบบอื่น
2. อยู่ในรูปแบบของการบรรยาย
(Descriptive catehories)
3. รูปแบบการคิดเชิงปฏิบัติ
(Practical ideal types)
4. รูปแบบเชิงปฏิบัติการ
(Model of operations research)
5. สมมติฐานที่เป็นทางการ
6. ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
7. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ที่ผู้วิจัยศึกษามา
8. กรอบแนวคิดของผู้วิจัยเองที่สังเคราะห์ขึ้นเองที่มาจากประสบการณ์
หรือการศึกษาค้นคว้ามาอย่างดี
รูปแบบการเขียนกรอบความคิดการวิจัย
1. แบบบรรยาย เป็นการใช้ถ้อยคำบรรยายความเกี่ยวเนื่อง
ลำดับก่อน-หลัง และความสัมพันธ์ของตัวแปร
ลักษณะนี้ไม่ดึงดูดความสนใจของผู้อ่านมากนัก
2. แบบฟังชั่นทางคณิตศาสตร์ วิธีนี้นิยมใช้ในการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์
เป็นการพยายามอธิบายเรื่องราวทั้งหมดด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์
3. แบบแผนภูมิ เป็นการเชื่อมโยงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ต้องการศึกษาแสดงลำดับการเกิดก่อนหลังของตัวแปร
นอกจากนี้แผนภูมิที่สร้างขึ้นยังสามารถแสดงความเป็นเหตุเป็นผล
ซึ่งนำไปสู่การใช้เทคนิคทางสถิติที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ต่อไป
อ้างอิง
http://www.gotoknow.org/posts/451815
เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2555
http://www.gotoknow.org/posts/400137 เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น