http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/assumpt1.htm
ได้รวบรวมและกล่าวถึงข้อตกลงเบื้องต้นไว้ว่า ข้อตกลงเบื้องต้น
เป็นข้อความที่แสดงถึงสิ่งที่เป็นจริงอยู่แล้วโดยไม่ต้องนำมาพิสูจน์อีก
และการเขียนข้อตกลงเบื้องต้นมีประโยชน์ที่จะช่วยให้ผู้อ่านและผู้วิจัยมีความเข้าใจตรงกันในประเด็นที่อาจเป็นปัญหาในการดำเนินการวิจัย
และข้องใจในผลการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้นอาจมาจากหลักการ ทฤษฎี หรือผลการวิจัยอื่นๆ
เช่น การกำหนดข้อตกลงเบื้องต้นว่า “คำตอบของกลุ่มตัวอย่างนั้น ถือว่าเป็นคำตอบที่ตรงกับความรู้สึกที่แท้จริง” เป็นต้น เพราะถ้าไม่เชื่อว่ากลุ่มตัวอย่างจะตอบตรงความคิดหรือความรู้สึกที่เป็นจริงแล้ว
ข้อมูลที่ได้จะขาดความตรง ผลการวิจัยก็จะไม่เกิดประโยชน์
http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re7.htm ได้รวบรวมและกล่าวถึงข้อตกลงเบื้องต้นไว้ว่า
การเขียนข้อตกลงเบื้องต้นนั้น
ผู้วิจัยจะต้องถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญ
และชี้ให้เห็นถึงประเด็นปัญหาของงานวิจัยที่เป็นความจริง
เป็นพื้นฐานความเชื่อเบื้องต้น และเป็นที่ยอมรับกัน และไม่ต้องการพิสูจน์
โดยอาศัยการใช้หลักฐาน และการยืนยันจากข้อมูลเบื้องต้น หรือทฤษฎี
ข้อตกลงเบื้องต้นนั้น มักต้องอาศัยข้อเท็จจริง ความเชื่อ ทฤษฎี กฎเกณฑ์ต่าง ๆ
ข้อผิดพลาดที่บังเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
หรือสถานการณ์ของสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย เป็นต้นว่า
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย มีความเหมือน ๆ กันด้านใดบ้าง
หรือแตกต่างอย่างไรบ้าง แล้วตกลง หรือวางเงื่อนไขตามความเป็นจริงไว้เสียก่อน
อย่างไรก็ตามสิ่งที่ควรระลึกถึงคือ ไม่ควรตกลงเกินขอบเขตที่ควรจะตกลงได้ เช่น
ตกลงไว้ก่อนว่า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีความเชื่อถือได้โดยปกติ
แล้วการเขียนข้อตกลงเบื้องต้นนั้น
อาจใช้แนวทางการอ้างอิงไว้ในข้อตกลงเบื้องต้นด้วยคือ
1. ความมีเหตุผล
2. หลักฐานข้อเท็จจริง
3. แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
ในการเขียนข้อตกลงเบื้องต้นที่น่าเชื่อถือได้นั้น ก็ควรจะชี้แจงให้เหตุผลอยู่ในตัวของมันเอง อย่างน้อยหนึ่งใน 3 อย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นข้อตกลงที่เชื่อถือไม่ได้แนวทางการดำเนินการวิจัย
http://ajdusadee-dusadee.blogspot.com/2011/01/blog-post.html ได้รวบรวมและกล่าวถึงข้อตกลงเบื้องต้นไว้ว่า ข้อตกลงเบื้องต้น (assumption) เป็นการเขียนในขั้นการวางแผนการวิจัยเช่นกัน เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับมุมมองของนักวิจัยในการใช้เครื่องมือต่างๆ สำหรับการวิจัยเช่น การใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล การใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ว่านักวิจัยมีความเชื่อในสิ่งที่เป็นฐานคิดว่าอย่างไรการได้ข้อมูลต้องเข้าไปสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกับผู้ให้ข้อมูล ต้องไปเข้าใจวิธีคิดของผู้ให้ข้อมูล
1. ความมีเหตุผล
2. หลักฐานข้อเท็จจริง
3. แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
ในการเขียนข้อตกลงเบื้องต้นที่น่าเชื่อถือได้นั้น ก็ควรจะชี้แจงให้เหตุผลอยู่ในตัวของมันเอง อย่างน้อยหนึ่งใน 3 อย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นข้อตกลงที่เชื่อถือไม่ได้แนวทางการดำเนินการวิจัย
http://ajdusadee-dusadee.blogspot.com/2011/01/blog-post.html ได้รวบรวมและกล่าวถึงข้อตกลงเบื้องต้นไว้ว่า ข้อตกลงเบื้องต้น (assumption) เป็นการเขียนในขั้นการวางแผนการวิจัยเช่นกัน เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับมุมมองของนักวิจัยในการใช้เครื่องมือต่างๆ สำหรับการวิจัยเช่น การใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล การใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ว่านักวิจัยมีความเชื่อในสิ่งที่เป็นฐานคิดว่าอย่างไรการได้ข้อมูลต้องเข้าไปสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกับผู้ให้ข้อมูล ต้องไปเข้าใจวิธีคิดของผู้ให้ข้อมูล
สรุป
ข้อตกลงเบื้องต้น (assumption) เป็นการเขียนในขั้นการวางแผนการวิจัยเช่นกัน
เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับมุมมองของนักวิจัยในการใช้เครื่องมือต่างๆ
และเป็นข้อความที่แสดงถึงสิ่งที่เป็นจริงอยู่แล้วโดยไม่ต้องนำมาพิสูจน์อีก
และการเขียนข้อตกลงเบื้องต้นมีประโยชน์ที่จะช่วยให้ผู้อ่านและผู้วิจัยมีความเข้าใจตรงกันในประเด็นที่อาจเป็นปัญหาในการดำเนินการวิจัย
และข้องใจในผลการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้นอาจมาจากหลักการ ทฤษฎี หรือผลการวิจัยอื่นๆ
ข้อตกลงเบื้องต้นนั้นแบ่งออกได้ดังนี้
1. ข้อตกลงที่เกี่ยวกับรูปแบบกายภาพทางธรรมชาติ (Assumption of
Uniformity of Nature) หมายถึง ข้อตกลงของปรากฎการณ์ ต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างมีระบบ มีเหตุผล
และเงื่อนไขที่ก่อให้เกิด มีแบบฉบับตายตัวที่เกิดเป็นกฎเกณฑ์ตายตัว
เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็สามารถเกิดขึ้นอีกได้ ซึ่งข้อตกลงนี้แบ่งออกได้เป็น 3 ข้อย่อย ดังนี้
1.1 ชนิดของธรรมชาติ (Postulate of
Natural Kinds) หมายถึงธรรมชาติมี
โครงสร้าง คุณสมบัติ และจดหมายของตัวเอง เช่น การจัดหมวดหมู่ของ สัตว์ พืช ดิน น้ำ
ไว้เป็นกลุ่มเป็นพวก
1.2 ความสม่ำเสมอ (Postulate of
Constancy) หมายถึงปรากฎการณ์ตาม
ธรรมชาติ จะคุมคุณลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ภายใต้เงื่อนไขเฉพาะอย่าง เช่น
น้ำจะแข็งเมื่ออากาศเย็นจัด แต่ถ้าอากาศอุ่นขึ้น น้ำแข็งก็จะละลาย เป็นน้ำ
1.3 ความเป็นเหตุเป็นผล (Determinism) หมายถึง
ปรากฎการณ์ทั้งหลายใน ธรรมชาติมีสาเหตุที่ทำให้เกิดขึ้น
และผลก็จะเกิดขึ้นจากสาเหตุต่าง ๆ เหล่านั้น เช่น ถ้าอยากวาดภาพสีน้ำ
หากเรามีแต่น้ำไม่มีสีก็ไม่สามารถ วาดภาพได้
2. ข้อตกลงที่เกี่ยวกับขบวนการทางจิตวิทยา (Assumption
Concerning the Psychological Process) ข้อตกลงนี้หมายถึง การที่บุคคลได้รับความรู้ต่าง ๆ โดยอาศัยจิตวิทยา 3 ประการ ได้แก่ การรับรู้ (Perceiving) การจำ (Remembering) และการใช้เหตุผล (Reasoning) ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ข้อ ได้แก่
2.1 ความเชื่อถือของการรับรู้ (Postulate of
Reliability of Percieving) หมายถึง การรับรู้ของบุคคลต้องเชื่อถือได้ และมีความแน่นอน
หรือมีความเที่ยงตรง
2.2 ความเชื่อถือของการจำ (Postulate of
Reliability of Remembering) หมายถึงว่า การจำต้องมีความน่าเชื่อถือว่าถูกต้อง ซึ่งการจำนี้ทำได้โดย
การจดบันทึก หรือใช้เอกสาร เทปบันทึก หลักฐานต่าง ๆ เหล่านี้ต้องทำ อย่างถูกต้อง
2.3 ความเชื่อถือของการใช้เหตุผล (Postuiate of
Reliability of Reasoning) หมายถึงการใช้เหตุผลในการหาความรู้ ต้องมีความเชื่อมั่นว่า ได้มาอย่าง
ถูกต้อง มีระบบความคิดที่เป็นระบบ และสามารถนำมาใช้เป็นทฤษฎี
หรือกฎเกณฑ์ที่เชื่อถือได้
อ้างอิง
http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/assumpt1.htm
เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2555
http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re7.htm
เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2555
http://ajdusadee-dusadee.blogspot.com/2011/01/blog-post.html
เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น