วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ปัญหาทางจริยธรรม(Ethical Considerations)


http://thai.union.shef.ac.uk/Notice-Board/files/1e064542e1cb9aed2bfcd1e1d8340476-96.html ได้รวบรวมและกล่าวถึงปัญหาทางจริยธรรม ไว้ว่า
 ๑) การสร้างวัฒนธรรมยึดมั่นที่จะไม่แอบอ้างลอกเลียนความรู้ของผู้อื่น ว่าเป็นความคิดของตน   ที่เรามักใช้ศัพท์ว่า โจรกรรมวิชาการ” (plagiarism)   นี่เป็นเรื่องใหญ่ที่สุดในสังคมไทย   หากเราจะสร้างสังคมที่คนในสังคมเป็นผู้มีปัญญา มีความคิด มีวิจารณญาณของตนเอง เราต้องไม่ยอมให้ลูกของเรา หรือลูกศิษย์ของเราทำการบ้านโดยใช้วิธีค้น อินเทอร์เน็ต แล้วตัดปะ    วัฒนธรรมตัดปะคือวัฒนธรรมโจรกรรมวิชาการ    เวลานี้สังคมไทยเรากำลัง สอนลูกให้เป็นโจรกันอยู่โดยไม่รู้ตัว
๒) ความรับผิดชอบต่อสังคม   ที่จะไม่ใช้ทรัพยากรของสังคมในการทำงานวิจัยที่ไร้ประโยชน์ หรืองานวิจัยที่คุณภาพต่ำ ไม่น่าเชื่อถือ   ส่วนนี้น่าจะเป็นจริยธรรมของหน่วยงาน  ของวงการวิชาชีพ  ที่จะจัดระบบพัฒนาขีดความสามารถในการตั้งโจทย์วิจัย   พัฒนาวัฒนธรรมที่พิถีพิถันในการตั้งโจทย์วิจัย  คำหลักคือ วิจัยเพื่อสังคม  ไม่ใช่วิจัยเพื่อนักวิจัย   ไม่ใช่วิจัยเพื่อสถาบันวิจัย
๓) ความรับผิดชอบต่อสังคม   ที่จะไม่ใช้ทรัพยากรวิจัยของสังคมเพื่อประโยชน์ส่วนตัว หรือคอรัปชั่น  ต้องไม่มีการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบจากงบประมาณวิจัย   เช่นเอาไปเที่ยวต่างประเทศ  กำหนดในงบวิจัยที่จ้างบุคคลภายนอกดำเนินการให้ต้องซื้อของตอบแทนหน่วยงานหรือบุคคล
                ผศ.ดร.พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2544 : 28) ได้กล่าวไว้ว่าปัญหาทางจริยธรรมหรือการผิดจรรยาบรรณ มีการกระทำผิดทั้งผู้ทำวิจัยหรือผู้ขอทุนวิจัยและผู้ให้ทุนวิจัย ซึ่งมีหลายลักษณะดังนี้
1.การตั้งชื่อเรื่อง
- ลอกเลียนแบบชื่อเรื่องงานวิจัยของผู้อื่น
- ตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้หน่วยงานโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตน
2.การขอรับทุนสนับสนุน
- งานวิจัยเรื่องเดียวแต่ขอรับทุนหลานแหล่ง
- เปลี่ยนชื่อบางส่วน เช่น เปลี่ยนชื่อจังหวัดแต่เนื้อในเหมือนกันหมดแล้วแยกกันไปขอทุน
- แอบอ้างชื่อนักวิจัยและที่ปรึกษาโครงการ
- การติดสินบนผู้พิจารณา
- ขอทุนแล้วเอาไปจ้างผู้อื่นทำต่อ
- การพิจารณาทุนมีการเกรงใจกันหรือใช้วิธีการตกลงกันล่วงหน้า (lobby) มาก่อน
3.งบประมาณการวิจัย
- ตั้งงบประมาณสูงเกินจริง และไร้เหตุผล
- ผู้ให้ทุนสร้างเงื่อนไขให้เบิกยาก เช่น ใช้ระบบราชการเพื่อแลกกับผลประโยชน์บางอย่าง
4.การทำวิจัย
- แอบอ้างชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจเครื่องมือวิจัยโดยส่งเครื่องมือไปให้เป็นพิธี
- ไม่ส่งผลงานวิจัยตามกำหนดเวลาที่ขอทุน
- ไม่ได้เก็บข้อมูลจริงใช้วิธีสร้างข้อมูลขึ้นมาใหม่ (ยกเมฆ)
- ยักยอกงบประมาณไปใช้ส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับงานวิจัย
- เร่งรีบทำวิจัยช่วงใกล้ ๆ วันจะส่งผลงานวิจัยทำให้ผลงานวิจัยไม่มีคุณภาพ
- ไม่มีความรู้พอที่จะทำวิจัย
5.การเขียนรายงานการวิจัย
- จูงใจ เบี่ยงเบนผลการวิจัยโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตน
- เขียนรายงานในสิ่งที่ไม่ได้ทำจริง เช่น ไม่ได้หาคุณภาพเครื่องมือวิจัยแต่เขียนว่าหาคุณภาพเครื่องมือวิจัยพร้อมทั้งรายงานค่าสถิติที่สร้างขึ้นเอง เป็นต้น
- คัดลอกข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่อ้างอิง
- นำผลงานวิจัยผู้อื่นมาเปลี่ยนชื่อเป็นของตน
6.การส่งผลงานวิจัย
- ได้ทุนแล้วเมื่อครบกำหนดเงื่อนไขไม่ยอมส่งผลงานวิจัยให้หน่วยงานที่ให้ทุนตามสัญญา
- ไม่ได้แก้ตามประเด็นที่ตกลงไว้ก่อนรับทุน และผู้ให้ทุนก็ไม่ได้ตรวจ
                องอาจ นัยพัฒน์ (2548 : 24) ได้กล่าวไว้ว่าจริยธรรมและจรรยาบรรณในการวิจัยในกระบวนการแสวงหาความรู้ความจริงด้วยวิธีการวิจัย นักวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์มักมีโอกาสเสี่ยงต่อปัญหาทางด้านจริยธรรม (ethical problem) นานัปการ เช่น
1.การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว (privacy) ของบุคคลแต่ละคนหรือกลุ่มชนแต่ละกลุ่ม (ทั้งโดยการเฝ้าสังเกตการณ์และสอบถามเรื่องส่วนตัว)
2.การหลอกลวง (deception) หน่วยตัวอย่างที่ให้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการทำวิจัย
3.การบิดเบือนข้อค้นพบของการศึกษาวิจัย รวมทั้งการแอบอ้างผลงานวิจัยของบุคคลอื่นมาเป็นของตนเอง (plagiarism) ปัญหาทางด้านจริยธรรมทางการวิจัยในด้านต่าง ๆ เหล่านี้อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อหน่วยตัวอย่างที่ให้ข้อมูลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
สรุป
                ปัญหาทางจริยธรรมหรือการผิดจรรยาบรรณ มีการกระทำผิดทั้งผู้ทำวิจัยหรือผู้ขอทุนวิจัยและผู้ให้ทุนวิจัย ซึ่งมีหลายลักษณะดังนี้
1.การตั้งชื่อเรื่อง
2.การขอรับทุนสนับสนุน
3.งบประมาณการวิจัย
4.การทำวิจัย
5.การเขียนรายงานการวิจัย
6.การส่งผลงานวิจัย
ปัญหาทางจริยธรรม มักมีโอกาสเสี่ยงต่อปัญหาทางด้านจริยธรรม (ethical problem) นานัปการ เช่น
1.การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว (privacy) ของบุคคลแต่ละคนหรือกลุ่มชนแต่ละกลุ่ม (ทั้งโดยการเฝ้าสังเกตการณ์และสอบถามเรื่องส่วนตัว)
2.การหลอกลวง (deception) หน่วยตัวอย่างที่ให้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการทำวิจัย
                ดังนั้นคุณสมบัติที่ดีของผู้วิจัย คือ มีความซื่อสัตย์, มีความรู้, ไม่มีอคติต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือ หัวข้อวิจัย,ไม่เอาความคิดส่วนตัวมาเป็นเครื่องตัดสินใจผลวิจัย, ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น,เป็นคนช่างสังเกต, ละเอียด, รอบคอบ , มีความอดทน ตรงต่อเวลา, มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี,และ รู้จักประหยัดใช้ทรัพยากรในการวิจัย

อ้างอิง
http://thai.union.shef.ac.uk/Notice-Board/files/1e064542e1cb9aed2bfcd1e1d8340476-96.html  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2555
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2544). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์.กรุงเทพมหานคร : ครุศาสตร์
        สถาบันราชภัฏพระนคร.
องอาจ นัยพัฒน์. (2548). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.
         กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น