วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงาน (Administration Benefits & Application)


                เสนาะ ติเยาว์ (2544 : 1) ได้ให้ความหมายของการบริหารงานวิจัย คือ กระบวนการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งแยกตามสาระของความหมายนี้ได้ 5 ลักษณะ คือ
                1. การบริหารเป็นการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน
                2. การบริหารทำให้งานบรรลุเป้าหมายขององค์การ
                3. การบริหารเป็นความสมดุลระหว่างประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
                4. การบริหารเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการบริหารจะต้องเผชิญ      กับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
                5. การบริหารที่จะประสบผลสำเร็จจะต้องสามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่าง           ถูกต้อง
                พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว (2545 : 728) การบริหารจัดการเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานการวิจัยให้ประสบความสำเร็จ ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวก คือ โครงการพื้นฐานต้องพอเพียงซึ่งหมายถึงงบประมาณการวิจัย นักวิจัยหน่วยงานเป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้ระบบการวิจัยดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ หากมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูง
                ภิรมย์ กมลรัตนกุล (2531 : 8) การบริหารงานวิจัย คือ กิจกรรมที่ทำให้งานวิจัยนั้น สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี  โดยมีการวางแผน ดำเนินงานตามแผน และประเมินผลในการเขียนโครงร่างการวิจัย ควรมีผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มแรกจนเสร็จสิ้นโครงการเป็นขั้นตอน ดังนี้
                1.  วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์
                2. กำหนดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ เช่น
                2.1 ขั้นเตรียมการ
                                - ติดต่อเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
                                - ติดต่อผู้นำชุมชน
                                - การเตรียมชุมชน
                                - การคัดเลือกผู้ช่วยนักวิจัย
                                - การเตรียมเครื่องมือที่จะใช้ในการสำรวจ
                                - การอบรมผู้ช่วยนักวิจัย
                                - การทดสอบเครื่องมือในการสำรวจ
                                - การแก้ไขเครื่องมือในการสำรวจ
                2.2 ขั้นปฏิบัติงาน
                                - ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล
                                - ขั้นการเขียนรายงาน
                3. ทรัพยากรที่ต้องการของแต่ละกิจกรรมรวมทั้งเวลาที่ใช้
                4. การดำเนินงาน ต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การจัดสรรงบประมาณ และการรวบรวมข้อมูลสำหรับการบริหารงานบุคคล
สรุป
                การบริหารงานวิจัย คือ กระบวนการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวก คือ โครงการพื้นฐานต้องพอเพียงซึ่งหมายถึงงบประมาณการวิจัย นักวิจัยหน่วยงานเป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้ระบบการวิจัยดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยมีการวางแผน ดำเนินงานตามแผน และประเมินผลในการเขียนโครงร่างการวิจัย ควรมีผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มแรกจนเสร็จสิ้นโครงการเป็นขั้นตอน ดังนี้
                1.  วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์
                2. กำหนดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ เช่น
                2.1 ขั้นเตรียมการ
                                - ติดต่อเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
                                - ติดต่อผู้นำชุมชน
                                - การเตรียมชุมชน
                                - การคัดเลือกผู้ช่วยนักวิจัย
                                - การเตรียมเครื่องมือที่จะใช้ในการสำรวจ
                                - การอบรมผู้ช่วยนักวิจัย
                                - การทดสอบเครื่องมือในการสำรวจ
                                - การแก้ไขเครื่องมือในการสำรวจ
                2.2 ขั้นปฏิบัติงาน
                                - ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล
                                - ขั้นการเขียนรายงาน
                3. ทรัพยากรที่ต้องการของแต่ละกิจกรรมรวมทั้งเวลาที่ใช้
                4. การดำเนินงาน ต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การจัดสรรงบประมาณ และการรวบรวมข้อมูลสำหรับการบริหารงานบุคคล
อ้างอิง
เสนาะ ติเยาว์. (2544).  หลักการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 
ภิรมย์ กมลรัตนกุล. (2542). หลักเบื้องต้นในการทำวิจัย. กรุงเทพมหานคร : เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่น.
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. (2545). ศาสตร์แห่งการวิจัยทางการเมืองและสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพมหานคร : สมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น