http://webserv.kmitl.ac.th/s7065545/unit%201%20-%203.html
ได้รวบรวมและกล่าวถึงการรวบรวมข้อมูล ไว้ว่า การรวบรวมข้อมูล
หมายถึง วิธีการดำเนินการต่างๆ เพื่อทำให้ได้ข้อมูลมา
ซึ่งการรวบรวมข้อมูลนั้นเราควรจะพิจารณาใช้วิธีการที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
หากยังได้ข้อมูลที่ต้องการไม่เพียงพอ ก็ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลแบบอื่นต่อไป
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลมีอยู่หลายวิธี ดังนี้
1. การสังเกต เมื่อเราต้องการทราบข้อมูลเรื่องใด ก็ให้ทำการสังเกตแล้วจดบันทึกไว้ในสมุดหรือเอกสารอื่นใด
เช่น ต้องการทราบเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นหรือตกในช่วงเวลาหนึ่ง
ก็ให้สังเกตช่วงก่อนที่พระอาทิตย์จะขึ้นในตอนเช้าแล้วบันทึกไว้
2. การสัมภาษณ์ เมื่อเราต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล
ก็ให้ใช้วิธีการสัมภาษณ์ ซึ่งเป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลโดยตรง
เช่นฝ่ายบุคคลของบริษัทแห่งหนึ่งต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการทำงานที่ผ่านมาของผู้สมัครงาน
ก็จะใช้วิธีการสัมภาษณ์ ซึ่งนอกจากจะได้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการทำงานผ่านมาแล้ว
ยังทำให้รู้ถึงบุคลิกภาพของผู้ถูกสัมภาษณ์ด้วย
3. การสำรวจ เป็นการออกเก็บข้อมูลจากสถานที่จริง เช่น
ถ้าต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับการชำรุดของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในโรงเรียน
ก็จะใช้วิธีการสำรวจ ซึ่งอาจจะเริ่มต้นสำรวจไปทีละห้อง
แล้วนำข้อมูลที่ได้มาทำการปรับปรุงอุปกรณ์ให้สามารถใช้งานได้
4. การรวบรวมข้อมูลที่ผู้อื่นรวบรวมไว้แล้ว
เป็นการรวบรวมข้อมูลที่เสียค่าใช้จ่ายน้อย เพราะมีผู้ได้ทำการรวบรวมข้อมูลไว้แล้วตัวอย่างเช่น อยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับการทำอาหารของภาคเหนือ ก็สามารถหาข้อมูลการทำอาหารของภาคเหนือจากหนังสือที่เกี่ยวข้องเช่น
จากนิตยสาร วารสาร
หรือ ค้นหาจากอินเทอร์เน็ต ซึ่งปัจจุบันเป็นแหล่งข้อมูลที่มีผู้นิยมใช้ในการค้นหาข้อมูลมากที่สุดเพราะนอกจากจะรวดเร็วแล้วยังเสียค่าใช้จ่ายไม่มาก
และมีข้อมูลหลากหลายด้วย
http://guru.sanook.com/search/knowledge_search.php?select=1&q=%A1%D2%C3%E0%A1%E7%BA%C3%C7%BA%C3%C7%C1%A2%E9%CD%C1%D9%C5+(Collection+of+Data) ได้รวบรวมและกล่าวถึงการรวบรวมข้อมูล
ไว้ว่า เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูล เราอาจดำเนินการเก็บรวบรวมด้วยตนเองหรืออาจนำเอาข้อมูลจากแหล่งที่มีผู้รวบรวมไว้แล้วมาใช้ก็ได้
ที่จำเป็นต้องเก็บรวบรวมเองอาจเป็นเพราะข้อมูลที่เราต้องการใช้ไม่สามารถหาได้เลยไม่ว่าจากแหล่งใด
ปัจจัยที่สำคัญในการตัดสินใจว่าจะดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองหรือไม่
คือเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน โดยทั่วไปการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและเสียค่าใช้จ่ายสูง
นอกจากนี้มักจะต้องใช้คนดำเนินงานเป็นจำนวนมากด้วย
ดังนั้นในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สำคัญๆ และมีขอบเขตกว้างขวาง เช่น
ข้อมูลเกี่ยวกับประชากร การเกษตร อุตสาหกรรม คมนาคม เป็นต้น หน่วยงานของรัฐบาลจึงเป็นผู้เก็บรวบรวมและพิมพ์เผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว
ดร.พิชิต ฤทธิ์จรูญ(2544:383) การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นการอธิบายถึงวิธีการที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ว่าจะดำเนินการอย่างไร ในช่วงเวลาใด เช่น ส่งทางไปรษณีย์หรือนำไปให้กลุ่มตัวอย่างเอง
โดยวิธีการสอบถาม ทดสอบ สัมภาษณ์ หรือสังเกต
ในกรณีที่จะเป็นการวิจัยในเชิงทดลองจะต้องกล่าวถึงขั้นตอนในการดำเนินการทดลอง
พร้อมระบุการเก็บรวบรวมข้อมูลให้สอดคล้องตลอดการทดลอง
สรุป
การเก็บรวบรวมข้อมูล เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูล
เราอาจดำเนินการเก็บรวบรวมด้วยตนเองหรืออาจนำเอาข้อมูลจากแหล่งที่มีผู้รวบรวมไว้แล้วมาใช้ก็ได้
การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นวิธีการดำเนินการต่างๆ เพื่อทำให้ได้ข้อมูลมา
ซึ่งการรวบรวมข้อมูลนั้นเราควรจะพิจารณาใช้วิธีการที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
หากยังได้ข้อมูลที่ต้องการไม่เพียงพอ
ก็ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลแบบอื่นต่อไปโดยวิธีการสอบถาม ทดสอบ สัมภาษณ์ หรือสังเกต
ในกรณีที่จะเป็นการวิจัยในเชิงทดลองจะต้องกล่าวถึงขั้นตอนในการดำเนินการทดลอง
พร้อมระบุการเก็บรวบรวมข้อมูลให้สอดคล้องตลอดการทดลอง
อ้างอิง
http://webserv.kmitl.ac.th/s7065545/unit%201%20-%203.html
เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2555
http://guru.sanook.com/search/knowledge_search.php?select=1&q=%A1%D2%C3%E0%A1%E7%BA%C3%C7%BA%C3%C7%C1%A2%E9%CD%C1%D9%C5+(Collection+of+Data) เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2555
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2544). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์.กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น