ทิศนา แขมมณี (2550: 45)
กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่านักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าจิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind)
สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก
เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อซึ่งจะแข็งแรงได้ด้วยการฝึกออกกำลังกาย ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยการให้บุคคลเรียนรู้เรื่องที่ยากๆยิ่งยากมากเท่าไรจิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น
สุริน
ชุมสาย ณ อยุธยา (http://surinx.blogspot.com/)
ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า
นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าจิตหรือสมองหรือสติปัญญา (mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก
เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อซึ่งจะแข็งแรงได้ด้วยการฝึกออกกำลังกาย
ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยการให้บุคคลเรียนรู้เรื่อง ที่ยาก ๆ
ยิ่งยากมากเท่าไรจิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น
นักคิดกลุ่มนี้มีแนวคิดแยกออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ
1.กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า (Theistic Mental Discipline) นักคิดที่สำคัญของกลุ่มนี้คือ เซนต์ออกุสติน (St. Augustine) จอห์น คาลวิน (John Calvin) และคริสเตียน โวล์ฟ (Christian Wolff) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อ ดังนี้
1.1 มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความชั่วและการกระทำใด ๆ ของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง (bad-active)
1.2 มนุษย์พร้อที่จะทำความชั่วหากไม่ได้รับการสั่งสอนอบรม
1.3 สมองของมนุษย์นั้นแบ่งออกเป็นส่วน ๆ (faculties) ซึ่งหากได้รับการฝึกอย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้
1.4 การฝึกสมองหรือฝึกระเบียบวินัยของจิตเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาให้มนุษย์เป็นคนดีและฉลาด
1.5 การฝึกฝนสมองให้รู้จักคิด ต้องใช้วิชาที่ยาก เช่นวิชาคณิตศาสตร์ ปรัชญา ภาษาลาติน ภาษากรีกและคัมภีร์ใบเบิล เป็นต้น
2.กลุ่มที่เชื่อในความมีเหตุผลของมนุษย์ (Humanistic Mental Discipline) นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ พลาโต (Plato) และอริสโตเติล (Aristotle) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อ ดังนี้
ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
1 พัฒนาการในเรื่องต่าง ๆ เป็นความสามารถของมนุษย์ มิใช่พระเจ้าบันดาลให้เกิด
2 มนุษย์เกิดมามีลักษณะไม่ดีไม่เลวและการกระทำของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายใน (neutral - active)
3 มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง มนุษย์มีอิสระที่จะเลือกทำตามความเข้าใจและเหตุผลของตน หากได้รับการฝึกฝนอบรมก็จะสามารถพัฒนาศักยภาพที่ติดตัวมา
4 มนุษย์มีความรู้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด แต่ถ้าขาดการกระตุ้นความรู้จะไม่แสดงออกมา
1.กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า (Theistic Mental Discipline) นักคิดที่สำคัญของกลุ่มนี้คือ เซนต์ออกุสติน (St. Augustine) จอห์น คาลวิน (John Calvin) และคริสเตียน โวล์ฟ (Christian Wolff) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อ ดังนี้
1.1 มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความชั่วและการกระทำใด ๆ ของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง (bad-active)
1.2 มนุษย์พร้อที่จะทำความชั่วหากไม่ได้รับการสั่งสอนอบรม
1.3 สมองของมนุษย์นั้นแบ่งออกเป็นส่วน ๆ (faculties) ซึ่งหากได้รับการฝึกอย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้
1.4 การฝึกสมองหรือฝึกระเบียบวินัยของจิตเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาให้มนุษย์เป็นคนดีและฉลาด
1.5 การฝึกฝนสมองให้รู้จักคิด ต้องใช้วิชาที่ยาก เช่นวิชาคณิตศาสตร์ ปรัชญา ภาษาลาติน ภาษากรีกและคัมภีร์ใบเบิล เป็นต้น
2.กลุ่มที่เชื่อในความมีเหตุผลของมนุษย์ (Humanistic Mental Discipline) นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ พลาโต (Plato) และอริสโตเติล (Aristotle) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อ ดังนี้
ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
1 พัฒนาการในเรื่องต่าง ๆ เป็นความสามารถของมนุษย์ มิใช่พระเจ้าบันดาลให้เกิด
2 มนุษย์เกิดมามีลักษณะไม่ดีไม่เลวและการกระทำของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายใน (neutral - active)
3 มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง มนุษย์มีอิสระที่จะเลือกทำตามความเข้าใจและเหตุผลของตน หากได้รับการฝึกฝนอบรมก็จะสามารถพัฒนาศักยภาพที่ติดตัวมา
4 มนุษย์มีความรู้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด แต่ถ้าขาดการกระตุ้นความรู้จะไม่แสดงออกมา
บุญเลี้ยง ทุมทอง (2554:23) กล่าวไว้ว่าทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนรู้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญที่ผู้เรียน ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญทฤษฎีนี้เน้นว่า ความรู้เป็นสิ่งที่ถูกสร้างโดยผู้เรียน ผู้เรียนใช้ความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่เป็นพื้นฐานในการสร้างความรู้ใหม่เป็นทฤษฎีของคอนสตัคติวิสต์ (ConstructivistTheory)
สรุป
ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง(Mental
Discipline) เป็นทฤษฎีที่มีความเชื่อว่าจิตหรือสมองหรือสติปัญญา (mind)
สามารถพัฒนาได้โดยการฝึก
ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยการให้บุคคลเรียนรู้เรื่อง ที่ยาก ๆ
ยิ่งยากมากเท่าไรจิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น
ในทฤษฎีนี้มีแนวคิดแยกออกเป็น 2 กลุ่มย่อยคือ
1. กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า
(Theistic Mental Discipline)
2. กลุ่มที่เชื่อในความมีเหตุผลของมนุษย์
(Humanistic Mental Discipline)
ทฤษฎีนี้มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนรู้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
เนื่องจากเป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียน
เอกสารอ้างอิง
ทิศนา แขมมณี.(2551).ศาสตร์การสอน.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพมหาน
สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา.[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์:http://surinx.blogspot.com//. เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2555
บุญเลี้ยง ทุมทอง.(1/2554).การวิจัยการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์.โรงพิมพ์สหบัณฑิต : มหาสารคาม.
ทิศนา แขมมณี.(2551).ศาสตร์การสอน.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพมหาน
สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา.[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์:http://surinx.blogspot.com//. เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2555
บุญเลี้ยง ทุมทอง.(1/2554).การวิจัยการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์.โรงพิมพ์สหบัณฑิต : มหาสารคาม.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น