วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism)


           
                 http://www.novabizz.com/   ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า  การเรียนรู้ในกลุ่มพุทธินิยมให้ความสำคัญกับความสามารถในการตั้งวัตถุประสงค์ การวางแผน ความตั้งใจ ความคิด ความจำ การคัดเลือก การให้ความหมายกับสิ่งเร้าต่างๆ ที่ได้จากประสบการณ์
            http://theory-tishafan.blogspot.com/     ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า การเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจาการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ
            http://www.oknation.net/     ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูล และการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่าง ๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง

สรุป
            ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงการเรียนรู้ของมนุษย์ที่ไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น  โดยให้ความสำคัญกับความสามารถในการตั้งวัตถุประสงค์ การวางแผน ความตั้งใจ ความคิด และการเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจาการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ

เอกสารอ้างอิง
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม.[ออนไลน์]ชื่อเว็บไซต์ : http://www.novabizz.com/  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2555
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม.[ออนไลน์]ชื่อเว็บไซต์ : http://theory-tishafan.blogspot.com%20%20%20/       เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่  28  มิถุนายน 2555
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม.[ออนไลน์]ชื่อเว็บไซต์ : http://www.oknation.net/ เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่  28  มิถุนายน 2555

วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism)


            ปริญญา เฉิดโฉม (http://www.novabizz.com/) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฏีนี้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมเน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulas) และ การตอบสนอง (Response) โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและ การตอบสนองอันนำไปสู่ ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือการเรียนรู้นั่นเอง ผู้นำที่สำคัญของ กลุ่มนี้ คือ พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) ธอร์นไดร์ (Edward Thorndike) และสกินเนอร์ (B.F.Skinner) เช่น
            ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning)   ผู้ที่ทำการศึกษาทดลองในเรื่องนี้ คือ พาฟลอฟ ซึ่งเป็นนักสรีระวิทยาชาวรัสเซีย เขาได้ทำการศึกษาทดลองกับสุนัขให้ ยืนนิ่งอยู่ในที่ตรึงใน ห้องทดลอง ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ก่อนการวางเงื่อนไข (Before Conditioning) ระหว่างการวางเงื่อนไข (During Conditioning) และ หลังการวางเงื่อนไข (After Conditioning)
            http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486   ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง  คือ  ไม่ดี ไม่เลว  การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก  พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus response)  การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง  กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ  พฤติกรรม มากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดและทดสอบได้
            www.oknation.net/blog/print.php?id=294321/    ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ ไม่ดีไม่เลว การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก  พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus response)  การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง  กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ   พฤติกรรม”  มากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด 
สรุป
            ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม มักจะมองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง  คือ  ไม่ดี ไม่เลว และเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยการกระทำต่างๆของมนุษย์ที่เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก 
เอกสารอ้างอิง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปริญญา เฉิดโฉม. [ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์: http://www.novabizz.com    เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2555
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ.[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์: http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486     เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2555
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม.[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์: www.oknation.net/blog/print.php?id=294321/    เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2555

ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด (Apperception or Herbartianism)


            ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ  (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486)  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ไว้ว่า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation)  และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส 
            http://dontong52.blogspot.com    ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ไว้ว่า
จอห์น ล็อค   เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากบุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5
วิลแฮม วุนด์   เชื่อว่า จิตมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ การสัมผัสทั้ง 5 การรู้สึกและจินตนาการ
ทิชเชเนอร์   เชื่อว่า จิตมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ การสัมผัสทั้ง 5 การรู้สึก และจินตนาการ
แฮร์บาร์ต   เชื่อว่า การเรียนรู้มี 3 ระดับ คือ ขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส ขั้นจำ ความคิดเดิม และขั้นการเกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจ
            www.oknation.net/blog/print.php?id=294321/  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า   นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation)  และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัสการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5  และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี
                สรุป
            ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด เป็นทฤษฎีของการเรียนรู้ที่เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม โดยได้รับประสบการณ์ตรงผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และความรู้สึก
เอกสารอ้างอิง
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ.[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์:               http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่  27 มิถุนายน 2555
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด .[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์    http://dontong52.blogspot.com   เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2555
 ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด.[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์    www.oknation.net/blog/print.php?id=294321/   เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2555

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ (Naturl Unfoldment)


            ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ  (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486)  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ  เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ  การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่  และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน
                สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา (http://surinx.blogspot.com//) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือรุสโซ (Rousseau) ฟรอเบล (Froebel) และเพสตาลอสซี (Pestalozzi) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อดังนี้ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
            1.มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดีและการกระทำใด ๆ เกิดขึ้นจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง (good - active)
            2.ธรรมชาติของมนุษย์มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเอง หากได้รับเสรีภาพในการเรียนรู้ มนุษย์ก็จะสามารถพัมนาตนเองไปตามธรรมชาติ
            3.รุสโซมีความเชื่อว่าเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก ๆ เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น การจัดการศึกษาให้เด้กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก
            4.รุสโซเชื่อว่าธรรมชาติคือแหล่งความรู้สำคัญเด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ คือการเรียนรู้จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จากผลของการกระทำของตน มิใช่การเรียนจากหนังสือหรือจากคำพูดบรรยาย
            5.เพสตาลอสซีมีความเชื่อว่า คนมีธรรมชาติปนกันใน 3 ลักษณะ คือ คนสัตว์ ซึ่งมีลักษณะเปิดเผย เป็นทาสของกิเลส คนสังคม มีลักษณะที่จะเข้ากับสังคม คล้อยตามสังคม และคนธรรม ซึ่งมีลักษณะของการรู้จักผิดชอบชั่วดี คนจะต้องมีการพัฒนาใน 3 ลักษณะ ดังกล่าว
            6.เพสตาลอสซีเชื่อว่าการใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอน จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี
            7.ฟรอเบลเชื่อว่าควรจะให้การศึกษาชั้นอนุบาลแก่เด็กเล็ก อายุ 3 – 5 ขวบ โดยให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
            8.ฟรอเบลเชื่อว่าการเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก
            http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ  เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ  การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี  การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก  เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ  เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น  การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก   การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่  และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน  ให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ  โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก
            สรุป
            ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ (Naturl Unfoldment) เป็นทฤษฎีที่มีความเชื่อว่าธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ  เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ การใช้ของจริงเป็นสื่อการสอนสำหรับเด็กช่วยให้เด็กมีพัฒนาการมากขึ้น การจัดการเรียนการสอนจึงเน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กและยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน 
เอกสารอ้างอิง
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ [ออนไลน์]ชื่อเว็บไซต์:        http://www.learners.in.th/blog/nacthakan/386486    เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2555
 สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา [ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์: http://surinx.blogspot.com//   เข้าถึงเมื่อวันที่  26  มิถุนายน 2555
http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm   เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2555

ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง(Mental Discipline)


           ทิศนา แขมมณี (2550: 45)  กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่านักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าจิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อซึ่งจะแข็งแรงได้ด้วยการฝึกออกกำลังกาย ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยการให้บุคคลเรียนรู้เรื่องที่ยากๆยิ่งยากมากเท่าไรจิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น
         
            สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา (http://surinx.blogspot.com/) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าจิตหรือสมองหรือสติปัญญา (mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อซึ่งจะแข็งแรงได้ด้วยการฝึกออกกำลังกาย ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยการให้บุคคลเรียนรู้เรื่อง ที่ยาก ๆ ยิ่งยากมากเท่าไรจิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น นักคิดกลุ่มนี้มีแนวคิดแยกออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ
         1.กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า (Theistic Mental Discipline) นักคิดที่สำคัญของกลุ่มนี้คือ เซนต์ออกุสติน (St. Augustine) จอห์น คาลวิน (John Calvin) และคริสเตียน โวล์ฟ (Christian Wolff) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อ ดังนี้
    1.1 มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความชั่วและการกระทำใด ๆ ของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง (bad-active)
    1.2 มนุษย์พร้อที่จะทำความชั่วหากไม่ได้รับการสั่งสอนอบรม
    1.3 สมองของมนุษย์นั้นแบ่งออกเป็นส่วน ๆ (faculties) ซึ่งหากได้รับการฝึกอย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้
    1.4 การฝึกสมองหรือฝึกระเบียบวินัยของจิตเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาให้มนุษย์เป็นคนดีและฉลาด
    1.5 การฝึกฝนสมองให้รู้จักคิด ต้องใช้วิชาที่ยาก เช่นวิชาคณิตศาสตร์ ปรัชญา ภาษาลาติน ภาษากรีกและคัมภีร์ใบเบิล เป็นต้น
          2.กลุ่มที่เชื่อในความมีเหตุผลของมนุษย์ (Humanistic Mental Discipline) นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ พลาโต (Plato) และอริสโตเติล (Aristotle) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อ ดังนี้
ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
    1 พัฒนาการในเรื่องต่าง ๆ เป็นความสามารถของมนุษย์ มิใช่พระเจ้าบันดาลให้เกิด
    2 มนุษย์เกิดมามีลักษณะไม่ดีไม่เลวและการกระทำของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายใน (neutral - active)
    3 มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง มนุษย์มีอิสระที่จะเลือกทำตามความเข้าใจและเหตุผลของตน หากได้รับการฝึกฝนอบรมก็จะสามารถพัฒนาศักยภาพที่ติดตัวมา
    4 มนุษย์มีความรู้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด แต่ถ้าขาดการกระตุ้นความรู้จะไม่แสดงออกมา 

          บุญเลี้ยง ทุมทอง (2554:23) กล่าวไว้ว่าทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนรู้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญที่ผู้เรียน ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญทฤษฎีนี้เน้นว่า ความรู้เป็นสิ่งที่ถูกสร้างโดยผู้เรียน ผู้เรียนใช้ความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่เป็นพื้นฐานในการสร้างความรู้ใหม่เป็นทฤษฎีของคอนสตัคติวิสต์ (ConstructivistTheory)
            
             สรุป  
             ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง(Mental Discipline) เป็นทฤษฎีที่มีความเชื่อว่าจิตหรือสมองหรือสติปัญญา (mind) สามารถพัฒนาได้โดยการฝึก ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยการให้บุคคลเรียนรู้เรื่อง ที่ยาก ๆ ยิ่งยากมากเท่าไรจิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น ในทฤษฎีนี้มีแนวคิดแยกออกเป็น 2 กลุ่มย่อยคือ
             1.  กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า (Theistic Mental Discipline)
             2.  กลุ่มที่เชื่อในความมีเหตุผลของมนุษย์ (Humanistic Mental Discipline)
             ทฤษฎีนี้มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนรู้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียน

เอกสารอ้างอิง
ทิศนา แขมมณี.(2551).ศาสตร์การสอน.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพมหาน
สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา.[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์:http://surinx.blogspot.com//. เข้าถึงเมื่อวันที่ 26    มิถุนายน 2555     
บุญเลี้ยง ทุมทอง.(1/2554).การวิจัยการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์.โรงพิมพ์สหบัณฑิต : มหาสารคาม.