วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ชื่อเรื่อง(The Title)


                http://www.watpon.com/Elearning/res19.htm   ได้รวบรวมและกล่าวถึง ชื่อเรื่องไว้ว่า ชื่อเรื่องวิจัยนับเป็นจุดแรกที่จะดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน และทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในปัญหารวมทั้งวิธีการดำเนินการวิจัยของผู้วิจัยอีกด้วย ดังนั้นการตั้งชื่อเรื่องวิจัยจึงต้องเขียนให้ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่เขียนอย่างคลุมเครือ ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงต้องระมัดระวังในการตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้เหมาะสม ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้

                1. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้สั้น โดยใช้คำที่เฉพาะเจาะจง หรือสื่อความหมายเฉพาะเรื่อง และควรเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย กะทัดรัด แต่ชื่อเรื่องก็ไม่ควรจะสั้นเกินไปจนทำให้ขาดความหมายทางวิชาการ

                2. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้ตรงกับประเด็นของปัญหา เมื่อผู้อ่านอ่านแล้วจะได้ทราบว่าเป็นการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาอะไรได้ทันที อย่างตั้งชื่อเรื่องวิจัยที่ทำให้ผู้อ่านตีความได้หลายทิศทาง และอย่าพยายามทำให้ผู้อ่านเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากเกินความเป็นจริง

                3. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยโดยการใช้คำที่บ่งบอกให้ทราบถึงประเภทของการวิจัย ซึ่งจะทำให้ชื่อเรื่องชัดเจน และเข้าใจง่ายขึ้น เช่น

                3.1 การวิจัยเชิงสำรวจ มักใช้คำว่า การสำรวจ หรือการศึกษาในชื่อเรื่องวิจัยหรืออาจระบุตัวแปรเลยก็ได้ เช่น การศึกษาการใช้สารเคมีของชาวอีสาน หรือการสำรวจการใช้สารเคมีของชาวอีสาน หรือการใช้สารเคมีของชาวอีสาน เป็นต้น

                3.2 การวิจัยเชิงศึกษาเปรียบเทียบ การตั้งชื่อเรื่องวิจัยในลักษณะนี้ มักจะใช้คำว่า การศึกษา เปรียบเทียบ หรือการเปรียบเทียบ นำหน้า เช่น การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านของนักเรียนในเขตและนอกเขตเทศบาล ของจังหวัดมหาสารคาม

                3.3 การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ การวิจัยประเภทนี้จะใช้คำว่า การศึกษาความสัมพันธ์ หรือความสัมพันธ์ นำหน้าชื่อเรื่องวิจัย เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งกับพ่อแม่และการปรับตัวของวัยรุ่น เป็นต้น

                3.4 การวิจัยเชิงการศึกษาพัฒนาการ การวิจัยประเภทนี้มักใช้คำว่า การศึกษาพัฒนาการหรือพัฒนาการ นำหน้าชื่อเรื่องวิจัย เช่น การศึกษาพัฒนาการด้านการเขียนของเด็กก่อนวัยเรียนในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม

                3.5 การวิจัยเชิงทดลอง การตั้งชื่อเรื่องวิจัยประเภทนี้อาจตั้งชื่อได้แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของการทดลอง เช่น อาจใช้คำว่า การทดลอง การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การศึกษา การเปรียบเทียบ ฯลฯ นำหน้า หรือาจจะไม่ใช้คำเหล่านี้นำหน้าก็ได้ เช่น การทดลองเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในจังหวัดอ่างทอง การวิเคราะห์หาปริมาณของกรดอะมิโนที่จำเป็นในปลายรากข้าวโพดหลังจากแช่ในสารละลายน้ำตาลชนิดต่าง ๆ การสังเคราะห์กรดไขมันจากอะเซติลโคเอ การศึกษาองค์ประกอบต่าง ๆ ในยางมะละกอ การเปรียบเทียบการสอนอ่านโดยวิธีใช้ไม่ใช้การฟังประกอบ การสกัดสารอินดิเคเตอร์จากดอกอัญชัน ฯลฯ

                4. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยในลักษณะของคำนาม ซึ่งจะทำให้เกิดความไพเราะ สละสลวยกว่าการใช้คำกริยานำหน้าชื่อเรื่อง เช่น แทนที่จะใช้คำว่า ศึกษา เปรียบเทียบ สำรวจ ก็ควรใช้คำที่มีลักษณะเป็นคำนามนำหน้า เช่น การศึกษา การเปรียบเทียบ การสำรวจ ฯลฯ

                5. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยที่ประกอบด้วยข้อความเรียงที่สละสลวยได้ใจความสมบูรณ์ คือเป็นชื่อเรื่องที่ระบุให้ทราบตั้งแต่จุดมุ่งหมายของการวิจัย ตัวแปร และกลุ่มตัวอย่างที่จะศึกษาวิจัยด้วย เช่น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการสอบคัดเลือกกับเกรดเฉลี่ยสะสมและเจตคติต่อวิชาชีพครูของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2544

             http://school.obec.go.th/bandai/caimax/max5.htm ได้รวบรวมและกล่าวถึง ชื่อเรื่องไว้ว่า เมื่อผู้จัดทำโครงงานได้เรื่องที่จะทำแล้วก็จะนำเรื่องที่จะทำมาตั้งเป็นชื่อเรื่อง ซึ่งในการตั้งชื่อเรื่อง มีเทคนิคที่สำคัญในการดึงดูดความสนใจของผู้ชม หรือผู้ที่สนใจในการโครงงานของเรา ควรมีหลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อโครงงานดังนี้

                1. ควรตั้งชื่อให้ตรงกับเรื่องที่จะทำ ควรอยู่ในกรอบของแนวความคิดในเรื่องที่ทำ

                2. ชื่อเรื่องควรสั้นกระทัดรัด  มีความหมายให้สื่อได้ตรงกับเรื่องที่ทำ ไม่ควรตั้งชื่อเรื่องยาวเกินไป

                3. การตั้งชื่อเรื่องไม่ควรตั้งเป็นประโยคคำถาม

                4. ชื่อเรื่องควรเร้าความสนใจของผู้ที่มาดูผลงานของเรา สามารถดึงดูดความสนใจของผู้อื่นได้

                5. การตั้งชื่อเรื่องสามารถนำตัวแปรต้น และตัวแปรตาม มาเขียนรวมกันเป็นชื่อเรื่องก็ได้ เช่น

การศึกษาอิทธิพลของแสงมีผลต่อการเจริญเติบดตของพืช เป็นต้น

                        http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsithamrat/sujiraporn_p/book/sec02p02.html ได้รวบรวมและกล่าวถึง ชื่อเรื่องไว้ว่า หน้าชื่อเรื่อง คือ หน้าที่บอกเพียงชื่อหนังสือเท่านั้น ถ้าเป็นหนังสือชุดจะมีชื่อชุดที่หน้านี้ด้วยหน้าชื่อเรื่องจะทำหน้าที่แทนปกชั่วคราวเมื่อปกหลุด  มีหนังสือบางเล่มเท่านั้นที่จะมีหน้าชื่อเรื่องสำหรับหนังสือที่แบ่งเป็นตอน จะบอกชื่อตอนคั่นระหว่างเนื้อหา  เช่น ตอนที่หนึ่ง ภาคทฤษฎี หรือ ภาคผนวก หน้านี้จะเรียกว่า หน้าบอกตอน

สรุป

                ชื่อเรื่องวิจัยนับเป็นจุดแรกที่จะดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน และทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในปัญหารวมทั้งวิธีการดำเนินการวิจัยของผู้วิจัยอีกด้วย ดังนั้นการตั้งชื่อเรื่องวิจัยจึงต้องเขียนให้ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่เขียนอย่างคลุมเครือ ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงต้องระมัดระวังในการตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้เหมาะสม ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้

                1. ชื่อเรื่องควรสั้นกระทัดรัด  มีความหมายให้สื่อได้ตรงกับเรื่องที่ทำ ไม่ควรตั้งชื่อเรื่องยาวเกินไป                2. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้ตรงกับประเด็นของปัญหา เมื่อผู้อ่านอ่านแล้วจะได้ทราบว่าเป็นการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาอะไรได้ทันที อย่างตั้งชื่อเรื่องวิจัยที่ทำให้ผู้อ่านตีความได้หลายทิศทาง และอย่าพยายามทำให้ผู้อ่านเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากเกินความเป็นจริง

                3. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยโดยการใช้คำที่บ่งบอกให้ทราบถึงประเภทของการวิจัย ซึ่งจะทำให้ชื่อเรื่องชัดเจน และเข้าใจง่ายขึ้น

                4. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยในลักษณะของคำนาม ซึ่งจะทำให้เกิดความไพเราะ สละสลวยกว่าการใช้คำกริยานำหน้าชื่อเรื่อง เช่น แทนที่จะใช้คำว่า ศึกษา เปรียบเทียบ สำรวจ ก็ควรใช้คำที่มีลักษณะเป็นคำนามนำหน้า เช่น การศึกษา การเปรียบเทียบ การสำรวจ ฯลฯ

                5. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยที่ประกอบด้วยข้อความเรียงที่สละสลวยได้ใจความสมบูรณ์ คือเป็นชื่อเรื่องที่ระบุให้ทราบตั้งแต่จุดมุ่งหมายของการวิจัย ตัวแปร และกลุ่มตัวอย่างที่จะศึกษาวิจัยด้วย เช่น การศึกษาความสัมพันธ์

อ้างอิง

http://www.watpon.com/Elearning/res19.htm เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2555

http://school.obec.go.th/bandai/caimax/max5.htm เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2555

http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsithamrat/sujiraporn_p/book/sec02p02.html เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น