วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย(Background & Rationale)


                 http://rforvcd.wordpress.com ได้รวบรวมและกล่าวถึงความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัยไว้ว่า ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย อาจเรียกแตกต่างกัน เช่น ความเป็นมาหรือความสำคัญของปัญหา  หลักการและเหตุผล ภูมิหลังของปัญหา ความจำเป็นที่จะทำการวิจัย หรือ ความสำคัญของโครงการวิจัย ฯลฯ รวมทั้งความจำเป็น คุณค่า และประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัยในเรื่องนี้ โดยผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาอย่างกว้างๆ ก่อนว่าสภาพทั่วๆไปของปัญหาเป็นอย่างไร และภายในสภาพที่กล่าวถึง  มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร
                การเขียนความเป็นมาหรือความสำคัญของปัญหาการวิจัยต้องเขียนให้หนักแน่น มีเหตุผลสนับสนุนที่น่าเชื่อถือ ชี้ประเด็นให้เห็นความสำคัญของการวิจัยอย่างแท้จริง กรณีที่เป็นศิลปนิพนธ์ให้อธิบายเหตุผลที่เลือกทำศิลปนิพนธ์เรื่องนี้ โดยอ้างทฤษฎีรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องปัญหาที่ต้องการทราบและความสำคัญหรือประโยชน์ของการทำศิลปนิพนธ์เรื่องนี้มาสนับสนุนเหตุผล ควรเขียนให้กระชับและให้ความชัดเจน จากเนื้อหาในมุมกว้างแล้วเข้าสู่ปัญหาของศิลปนิพนธ์ที่ทำ เพื่อให้สามารถโน้มน้าวให้ผู้อ่านหรือผู้อนุมัติโครงการวิจัยคล้อยตามว่าถ้าหากวิจัยแล้วจะเกิดคุณประโยชน์อย่างไร แล้วสรุปเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์การวิจัย
                http://www.gotoknow.org/posts/261202  ได้รวบรวมและกล่าวถึงความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัยไว้ว่า การเขียนความสำคัญและความเป็นมาของการวิจัย เป็นการเขียนเพื่อตอบคำถามว่าเหตุใดจึงต้องวิจัยเรื่องนี้ ข้อค้นพบจากการวิจัยจะนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร มีความคุ้มค่าหรือไม่ในการวิจัยเรื่องดังกล่าว นิยมเขียนเน้นความเรียงที่เน้นความเป็นเหตุเป็นผล มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของเนื้อหาสาระ โดยให้มีความกระชับเข้าใจง่าย การเขียนนำเข้าสู่ปัญหาวิจัยควรเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวปัญหา โดยเขียนให้ข้อมูลที่ชัดเจนว่า ณ เวลาปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยในอดีตที่สามารถตอบปัญหาดังกล่าวได้ และปัญหาดังกล่าวสมควรได้รับการแก้ไขด้วยการหาคำตอบ โดยกระบวนการวิจัย
                http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re4.htm  ได้รวบรวมและกล่าวถึงความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัยไว้ว่า ปัญหาการวิจัย   คือ ประเด็นที่นักวิจัยสงสัยและต้องการดำเนินการเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริง ทำให้มีลักษณะข้อสงสัยของผู้วิจัยต่อสถานการณ์ทั้งที่เป็นความแตกต่างและไม่แตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นจริงกับสิ่งที่คาดหวัง และที่สำคัญปัญหานั้นไม่สามารถหาคำตอบด้วยสามัญสำนึก
                ดังนั้น การกำหนดปัญหาการวิจัย   จึงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักสำหรับนักวิจัยที่จะกำหนดปัญหาการวิจัยที่ง่าย ชัดเจน และครบถ้วนสมบูรณ์ นักวิจัยส่วนมากอาจมีแนวความคิดที่สลับซับซ้อน บางคนอาจใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างแนวคิด และวิเคราะห์ ก่อนที่จะสามารถตัดสินใจได้ว่า ปัญหาการวิจัยที่เขาต้องการจะหาคำตอบที่แท้จริงคืออะไร
สรุป
                ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย อาจเรียกแตกต่างกัน เช่น ความเป็นมาหรือความสำคัญของปัญหา  หลักการและเหตุผล ภูมิหลังของปัญหา ความจำเป็นที่จะทำการวิจัย หรือ ความสำคัญของโครงการวิจัย การเขียนความเป็นมาหรือความสำคัญของปัญหาการวิจัยต้องเขียนให้หนักแน่น มีเหตุผลสนับสนุนที่น่าเชื่อถือ ชี้ประเด็นให้เห็นความสำคัญของการวิจัยอย่างแท้จริง เป็นการเขียนเพื่อตอบคำถามว่าเหตุใดจึงต้องวิจัยเรื่องนี้ ข้อค้นพบจากการวิจัยจะนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร มีความคุ้มค่าหรือไม่ในการวิจัยเรื่องดังกล่าว นิยมเขียนเน้นความเรียงที่เน้นความเป็นเหตุเป็นผล มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของเนื้อหาสาระ
                ดังนั้น การกำหนดปัญหาการวิจัย   จึงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักสำหรับนักวิจัยที่จะกำหนดปัญหาการวิจัยที่ง่าย ชัดเจน และครบถ้วนสมบูรณ์ นักวิจัยส่วนมากอาจมีแนวความคิดที่สลับซับซ้อน บางคนอาจใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างแนวคิด และวิเคราะห์ ก่อนที่จะสามารถตัดสินใจได้ว่า ปัญหาการวิจัยที่เขาต้องการจะหาคำตอบที่แท้จริงคืออะไร

อ้างอิง
http://rforvcd.wordpress.com  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2555
http://www.gotoknow.org/posts/261202   เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2555
http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re4.htm เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2555


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น