http://www.bestwitted.com/?tag=%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B5 ได้รวบรวมและกล่าวถึงทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องไว้ว่า
การทบทวนวรรณกรรม หมายถึง
การศึกษาค้นคว้าเอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผู้วิจัยกำลังจะทำการศึกษา
เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎี แนวคิด
อันเชื่อมโยงมาสู่การกำหนดกรอบแนวคิดและตัวแปรที่เกี่ยวข้องซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ
จุดมุ่งหมายของการทบทวนวรรณกรรม
1.การอ้างอิงเชิงทฤษฎี
(Theoretical Reference)
2.การอ้างอิงเชิงประจักษ์
(Empirical Reference)
จุดมุ่งหมายของการทบทวน เพื่อให้ทราบว่ามีผู้ใดเคยศึกษาหรือวิจัย
มาก่อน เพื่อให้ทราบถึงวิธีการศึกษาของผู้วิจัยอื่นๆ เพื่อให้ทราบถึงปัญหา
อุปสรรคที่เคยพบของงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
แหล่งของวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
1.หนังสือทั่วไป
(General Books)
2.หนังสืออ้างอิง
(Reference Book)
-สารานุกรม
(Encyclopedia)
-พจนานุกรม
(Dictionary)
-หนังสือรายปี
(Yearbooks)
-บรรณานุกรม
(Bibliographies)
-ดัชนีวารสาร
(Periodical Indexes)
-นามานุกรม
(Directories)
แหล่งของวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
-วิทยานิพนธ์
(Thesis)
-วารสาร
(Journals)
-รายงานการวิจัย
(Research Report)
-เอกสารทางราชการ
-ไมโครฟิล์ม
-หนังสือพิมพ์
(Newspaper)
ขั้นตอนในการทบทวนวรรณกรรม
-กำหนดขอบเขตของการทบทวนวรรณกรรม
-ค้นหาเอกสารหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
-การเลือกเอกสารและรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
-การอ่านเอกสาร
-บันทึกข้อมูล
-การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น
หลักการเขียนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
รูปแบบการอ้างอิง
อ้างอิงเชิงอรรถ
(Footnote Style ) ท้ายหน้าที่อ้างอิง
โดยมีชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ หรือ บทความ ปีที่พิมพ์และหมายเลขหน้า
อ้างอิงระบบ
นาม – ปี (Author
– Date Style) มีเฉพาะชื่อนามสกุล
ปีที่พิมพ์ และหมายเลขหน้า โดยวงเล็บไว้หลังข้อความที่อ้างอิง
http://www.nrru.ac.th/rdi/km/wp-content/uploads/2011/08/sim6.pdf ได้รวบรวมและกล่าวถึงทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องไว้ว่า
การทบทวนวรรณกรรมฯ
เป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในกระบวนการวิจัยและมีความเกี่ยวโยงกับขั้นตอนอื่นๆ
ได้แก่การกำหนด สมมติฐาน การควบคุมตัวแปร ที่ใช้ในการวิจัย การกำหนดรูปแบบการวิจัย
การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล
ถึงแม้ว่าขั้นตอนการกำหนดปัญหาการวิจัยจะเป็นขั้นตอนการแรกของกระบวนการวิจัยก็ตาม
การทบทวนวรรณกรรมก็ควรจัดทำควบคู่ไปกับการกำหนดปัญหาการวิจัย
เนื่องจากปัญหาที่ต้องการทำวิจัยในระยะแรก มักจะมีลักษณะกว้างเกินไป
จนไม่สามารถวางแผนการวิจัยที่ชัดเจนได้ การทบทวนวรรณกรรม ในขั้นต้น
จะช่วยในการกำหนดปัญหาให้แคบ และชัดเจนขึ้น
ช่วยให้ผู้วิจัยมั่นใจในความเป็นไปได้ในการทำวิจัยในเรื่องนั้น
http://netra.lpru.ac.th/~phaitoon/RESEARCH/%C7%D4%A8%D1%C2%A1%D2%C3%C8%D6%A1%C9%D2/doc.htm ได้รวบรวมและกล่าวถึงทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องไว้ว่า
การทบทวนวรรณกรรมหมายถึงเอกสารงานเขียนที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับหัวข้อปัญหาที่ผู้วิจัยสนใจ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอาจมีหลายลักษณะ เช่น
เป็นตำรา สารานุกรม พจนานุกรม นามานุกรม
ดัชนี รายงานสถิติ หนังสือรายปี บทความในวารสาร จุลสาร
ที่สำคัญก็คือรายงานผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น
ผู้วิจัยจะต้องทำการสำรวจอ่านทบทวนอย่างพินิจพิเคราะห์ ทักษะที่สำคัญของการทำวิจัยในขั้นตอนนี้คือ
ทักษะในการสืบค้นหาสารนิเทศจากแหล่งต่าง ๆ และทักษะในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
สรุป
การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง หมายถึง
การศึกษาค้นคว้าเอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผู้วิจัยกำลังจะทำการศึกษา
เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎี แนวคิด
อันเชื่อมโยงมาสู่การกำหนดกรอบแนวคิดและตัวแปรที่เกี่ยวข้องซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ
อ้างอิง
http://www.bestwitted.com/?tag=%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B5 เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2555
http://www.nrru.ac.th/rdi/km/wp-content/uploads/2011/08/sim6.pdf เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2555
http://netra.lpru.ac.th/~phaitoon/RESEARCH/%C7%D4%A8%D1%C2%A1%D2%C3%C8%D6%A1%C9%D2/doc.htm เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น