วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objective)


                  http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/object-list1.htm   ได้รวบรวมและกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัยไว้ว่า การกำหนดวัตถุประสงค์ เป็นการนำเอาแนวความคิดของประเด็นปัญหาวิจัยมาขยายรายละเอียด โดยเรียบเรียงให้เป็นภาษาเขียนที่ชัดเจน เข้าใจง่าย การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยจะต้องเป็นการเขียนจากที่กำหนดปัญหาการวิจัยได้แล้ว
                การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย
                - ในการวิจัยเชิงปริมาณ การเขียนวัตถุประสงค์จะระบุถึงตัวแปรที่ต้องการศึกษา และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับประเด็นที่ผู้วิจัยสนใจ คือ ระบุประชากรที่สนใจ ตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม
                - ในการวิจัยเชิงคุณภาพ การเขียนวัตถุประสงค์จะชี้ให้เห็นถึงลักษณะของการวิจัย ปรากฏการณ์ ธรรมชาติของกลุ่ม ชุมชน หรือ การวิจัยภายใต้สถานการณ์  คำที่ใช้สำหรับการเขียนวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อค้นหา อธิบาย พัฒนา เปรียบเทียบ พิสูจน์ แสดงให้เห็น ฯลฯ
                หลักการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย
                1. ต้องเขียนประเด็นของปัญหาให้ชัดเจนว่าต้องการศึกษาอะไร ในแง่มุมใด และเรื่องที่ศึกษาต้องอยู่ในกรอบของหัวเรื่องที่ทำวิจัย
                2. วัตถุประสงค์ที่เขียนต้องสามารถศึกษาได้ กระทำได้ หรือเก็บข้อมูลได้ทั้งหมด
                3. ต้องเขียนวัตถุประสงค์ในลักษณะที่สั้น กระทัดรัด ใช้ภาษาที่ง่าย
                4. วัตถุประสงค์สามารถเขียนในรูปประโยคบอกเล่า หรือประโยคคำถามก็ได้
                5. วัตถุประสงค์สามารถเขียนในรูปของการเปรียบเทียบ เพื่อเน้นความแตกต่าง หรือเขียนในรูปของความสัมพันธ์
                6. วัตถุประสงค์สามารถเขียนรวมเป็นข้อเดียว หรืออาจเขียนแยกเป็นข้อๆ ก็ได้
                7. จำนวนวัตถุประสงค์มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับของเขตของการวิจัย ว่าต้องการศึกษาแค่ไหน
                8. การเรียงหัวข้อวัตถุประสงค์ สามารถเรียงได้หลายลักษณะ เช่น เรียงตามความสำคัญของประเด็นปัญหาวิจัยลดหลั่นลงมา หรืออาจเรียงตามลักษณะระดับปัญหาใหญ่และปัญหารองลงมา หรืออาจเรียงวัตถุประสงค์ตามความสอดคล้องของเนื้อหา หรืออาจเรียงวัตถุประสงค์ตามลำดับการเกิดก่อน เกิดหลังของแต่ละปัญหาได้
                9. อย่านำประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับมาเขียนไว้ในวัตถุประสงค์การวิจัย เพราะวัตถุประสงค์การวิจัยเป็นเรื่องที่ต้องทำ แต่ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับเป็นผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหลังจากสิ้นสุดการวิจัยแล้ว ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับไม่ได้เป็นเรื่องบังคับให้ผู้วิจัยต้องทำเหมือนวัตถุประสงค์ และเมื่อทำวิจัยเสร็จแล้วผลที่คาดหวังไว้อาจจะเป็นไปตามที่คาดหรือไม่ก็ได้
                http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=02c5cecd63bebe8d ได้รวบรวมและกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัยไว้ว่า วัตถุประสงค์การวิจัย หมายถึง แนวทางหรือทิศทางในการค้นหาคำตอบของปัญหา
                - ในการวิจัยเชิงปริมาณ การเขียนวัตถุประสงค์จะระบุถึงตัวแปรที่ต้องการศึกษา และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับประเด็นที่ผู้วิจัยสนใจ คือ ระบุประชากรที่สนใจ ตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม
                - ในการวิจัยเชิงคุณภาพ การเขียนวัตถุประสงค์จะชี้ให้เห็นถึงลักษณะของการวิจัย ปรากฏการณ์ ธรรมชาติของกลุ่ม ชุมชน หรือ การวิจัยภายใต้สถานการณ์คำที่ใช้สำหรับการเขียนวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อค้นหา อธิบาย พัฒนา เปรียบเทียบ พิสูจน์ แสดงให้เห็น ฯลฯ               
                http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 ได้รวบรวมและกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัยไว้ว่า เป็นการกำหนดว่าต้องการศึกษาในประเด็นใดบ้าง ในเรื่องที่จะทำวิจัย ต้องชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งขอบเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้ จำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ
                1.วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objective)กล่าวถึงสิ่งที่ คาดหวัง (implication) หรือสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนี้ เป็นการแสดงรายละเอียด เกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย ในระดับกว้าง จึงควรครอบคลุมงานวิจัยที่จะทำทั้งหมด
                 2. วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Objective) จะพรรณนาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ในงานวิจัยนี้ โดยอธิบายรายละเอียดว่า จะทำอะไร โดยใคร ทำมากน้อยเพียงใด ที่ไหน เมื่อไร และเพื่ออะไร โดยการเรียงหัวข้อ ควรเรียงตามลำดับความสำคัญ ก่อน หลัง
สรุป
                วัตถุประสงค์การวิจัย เป็นการกำหนดความต้องการในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ความจริงของผู้วิจัยว่า ต้องการศึกษาเรื่องใดภายใต้ขอบเขตอะไร เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าผู้วิจัยมุ่งหาคำตอบเรื่องใด ซึ่งการกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย จะต้องมีความชัดเจนจำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ
                1.วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objective)กล่าวถึงสิ่งที่ คาดหวัง (implication) หรือสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนี้ เป็นการแสดงรายละเอียด เกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย ในระดับกว้าง จึงควรครอบคลุมงานวิจัยที่จะทำทั้งหมด
                 2. วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Objective) จะพรรณนาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ในงานวิจัยนี้ โดยอธิบายรายละเอียดว่า จะทำอะไร โดยใคร ทำมากน้อยเพียงใด ที่ไหน เมื่อไร และเพื่ออะไร โดยการเรียงหัวข้อ ควรเรียงตามลำดับความสำคัญ ก่อน หลัง
                หลักการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย
                1. ต้องเขียนประเด็นของปัญหาให้ชัดเจนว่าต้องการศึกษาอะไร ในแง่มุมใด และเรื่องที่ศึกษาต้องอยู่ในกรอบของหัวเรื่องที่ทำวิจัย
                2. วัตถุประสงค์ที่เขียนต้องสามารถศึกษาได้ กระทำได้ หรือเก็บข้อมูลได้ทั้งหมด
                3. ต้องเขียนวัตถุประสงค์ในลักษณะที่สั้น กระทัดรัด ใช้ภาษาที่ง่าย
                4. วัตถุประสงค์สามารถเขียนในรูปประโยคบอกเล่า หรือประโยคคำถามก็ได้
                5. วัตถุประสงค์สามารถเขียนในรูปของการเปรียบเทียบ เพื่อเน้นความแตกต่าง หรือเขียนในรูปของความสัมพันธ์
                6. วัตถุประสงค์สามารถเขียนรวมเป็นข้อเดียว หรืออาจเขียนแยกเป็นข้อๆ ก็ได้
                7. จำนวนวัตถุประสงค์มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับของเขตของการวิจัย ว่าต้องการศึกษาแค่ไหน
                8. การเรียงหัวข้อวัตถุประสงค์ สามารถเรียงได้หลายลักษณะ เช่น เรียงตามความสำคัญของประเด็นปัญหาวิจัยลดหลั่นลงมา หรืออาจเรียงตามลักษณะระดับปัญหาใหญ่และปัญหารองลงมา หรืออาจเรียงวัตถุประสงค์ตามความสอดคล้องของเนื้อหา หรืออาจเรียงวัตถุประสงค์ตามลำดับการเกิดก่อน เกิดหลังของแต่ละปัญหาได้
                9. อย่านำประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับมาเขียนไว้ในวัตถุประสงค์การวิจัย เพราะวัตถุประสงค์การวิจัยเป็นเรื่องที่ต้องทำ แต่ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับเป็นผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหลังจากสิ้นสุดการวิจัยแล้ว ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับไม่ได้เป็นเรื่องบังคับให้ผู้วิจัยต้องทำเหมือนวัตถุประสงค์ และเมื่อทำวิจัยเสร็จแล้วผลที่คาดหวังไว้อาจจะเป็นไปตามที่คาดหรือไม่ก็ได้
อ้างอิง
http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/object-list1.htm  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2555
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=02c5cecd63bebe8d  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2555
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2555

คำถามของการวิจัย(Research Question)


                องอาจ นัยพัฒน์(2551, หน้า 43-44) ให้แนวทางไว้ว่า การเขียนปัญหาการวิจัย ในรูปคำถามสามารถเขียนได้ 3 ลักษณะ คือ

                1. ประเด็นคำถามเชิงพรรณนา  ได้แก่ การกำหนดหัวข้อปัญหาวิจัยในรูปคำถามที่ว่า อะไรคือ อะไรเป็น” (What is) การตอบประเด็นคำถามดังกล่าวนี้ แสดงเป็นนัยว่า นักวิจัยจะต้องอาศัยการวิจัยเชิงสำรวจ  เช่น

                -อะไรคือพฤติกรรมแปลกแยกของนิสิต/นักศึกษาที่มีความเบี่ยงเบนทางเพศ

                -อะไรคือพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารโรงพยาบาลศูนย์ดีเด่นและไม่ดีเด่น

                2. ประเด็นคำถามเชิงความสัมพันธ์ ได้แก่ การกำหนดหัวข้อปัญหาวิจัย ในรูปของคำถามที่มุ่งหาคำตอบว่า  ตัวแปร  มีความสัมพันธ์กับตัวแปร Y หรือไม่”  หรือ ตัวแปร  พยากรณ์ตัวแปร Y ได้หรือไม่ การสืบหาคำตอบของคำถามทั้ง 2 ประเด็นนี้ แสดงเป็นนัยว่านักวิจัยต้องออกแบบการวิจัยเป็นประเภทการศึกษาสหสัมพันธ์(correlation  design)  เช่น

                -อัตมโนทัศน์ของนักเรียนมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหรือไม่

                -เพศ ผลการเรียนเดิมเกรดเฉลี่ย(GPA)ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ความเอาใจใส่ต่อการศึกษาเล่าเรียน ทำนายความสำเร็จในการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีได้อย่างแม่นตรงหรือไม่

                3. ประเด็นคำถามเชิงเปรียบเทียบ ได้แก่ การกำหนดหัวข้อปัญหาวิจัย ในรูปของคำถามที่มุ่งเน้นการเปรียบเทียบพฤติกรรมหรือปรากฏการณ์ที่สนใจระหว่างกลุ่มควบคุมที่ที่ดำเนินตามสภาวะปกติและกลุ่มทดลองที่จัดกระทำทางการทดลองขึ้น กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ รูปแบบของคำถามประเภทนี้มุ่งหาคำตอบว่า มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างหรือวิธีการที่นักวิจัยดำเนินการขึ้นหรือไม่ คำถามวิจัยประเภทนี้ต้องอาศัยแบบการวิจัยเชิงทดลอง(experimental design) หรือการศึกษาย้อนรอยเปรียบเทียบหาสาเหตุ(causal comparative design) มาใช้ในการสืบค้นหาคำตอบ เช่น

                -ผู้บริหารโรงพยาบาลศูนย์ดีเด่นและไม่ดีเด่น มีพฤติกรรมการบริหารงานด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง(transformational leadership) การจัดการ การตัดสินใจ และการติดต่อสื่อสารแตกต่างกันหรือไม่

                อาทิวรรณ โชติพฤกษ์(2553, หน้า 7) กล่าวว่า การตั้งคำถามเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะคำถามวิจัยที่ผู้วิจัยตั้งขึ้นบ่งบอกให้ทราบถึงประเด็นที่ผู้วิจัยต้องการทราบหรือทำความเข้าใจในเรื่องที่เลือกเป็นหัวข้อวิจัยนั้นๆ อีกทั้งยังช่วยให้ผู้วิจัยประเมินว่าต้องทำงานวิจัยอย่างไรและในทิศทางใด จึงจะนำไปสู่คำตอบของคำถามนั้นๆ  ทั้งนี้ผู้วิจัยอาจเริ่มตั้งคำถามด้วยวลีคำถาม เช่น  อะไร  อย่างไร  ที่ไหน  เมื่อไร  กับใคร     
                 http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  ได้รวบรวมและกล่าวถึงคำถามของการวิจัยไว้ว่า คำถามของการวิจัยเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องกำหนดขึ้น (problem identification) และให้นิยามปัญหานั้น อย่างชัดเจน เพราะปัญหาที่ชัดเจน จะช่วยให้ผู้วิจัย กำหนดวัตถุประสงค์ ตั้งสมมติฐาน ให้นิยามตัวแปรที่สำคัญ ๆ ตลอดจน การวัดตัวแปรเหล่านั้นได้ ถ้าผู้วิจัย ตั้งคำถามที่ไม่ชัดเจน สะท้อนให้เห็นว่า แม้แต่ตัวก็ยังไม่แน่ใจ ว่าจะศึกษาอะไร ทำให้การวางแผนในขั้นต่อไป เกิดความสับสนได้

                คำถามของการวิจัยต้องเหมาะสม (relevant) หรือสัมพันธ์ กับเรื่องที่จะศึกษา โดยควรมีคำถาม ที่สำคัญที่สุด ซึ่งผู้วิจัย ต้องการคำตอบ มากที่สุด เพื่อคำถามเดียว เรียกว่า คำถามหลัก (primary research question) ซึ่งคำถามหลักนี้ จะนำมาใช้เป็นข้อมูล ในการคำนวณ ขนาดของตัวอย่าง (sample size) แต่ผู้วิจัย อาจกำหนดให้มี คำถามรอง (secondary research question) อีกจำนวนหนึ่งก็ได้ ซึ่งคำถามรองนี้ เป็นคำถาม ที่เราต้องการคำตอบ เช่นเดียวกัน แต่มีความสำคัญรองลงมา โดยผู้วิจัย ต้องระลึกว่า ผลของการวิจัย อาจไม่สามารถ ตอบคำถามรองนี้ได้ ทั้งนี้เพราะ การคำนวณขนาดตัวอย่าง ไม่ได้คำนวณเพื่อตอบคำถามรองเหล่านี้


สรุป

                คำถามของการวิจัย คือ ข้อความที่เป็นประโยคคำถามซึ่งแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการค้นคว้าหาคำตอบ ทั้งนี้คำถามการวิจัยควรเป็นคำถามที่ยังไม่มีคำตอบ หรือไม่สามารถหาคำตอบได้จากตำรา หรือความรู้เดิมที่มีอยู่ก่อนแล้ว คำถามของการวิจัยต้องเหมาะสม (relevant) หรือสัมพันธ์ กับเรื่องที่จะศึกษา โดยควรมีคำถาม ที่สำคัญที่สุด ซึ่งผู้วิจัย ต้องการคำตอบ มากที่สุด เพื่อคำถามเดียว เรียกว่า คำถามหลัก (primary research question) ซึ่งคำถามหลักนี้ จะนำมาใช้เป็นข้อมูล ในการคำนวณ ขนาดของตัวอย่าง (sample size) แต่ผู้วิจัย อาจกำหนดให้มี คำถามรอง (secondary research question) อีกจำนวนหนึ่งก็ได้ ซึ่งคำถามรองนี้ เป็นคำถาม ที่เราต้องการคำตอบ เช่นเดียวกัน แต่มีความสำคัญรองลงมา

                องอาจ นัยพัฒน์(2551, หน้า 43-44) ให้แนวทางไว้ว่า การเขียนปัญหาการวิจัย ในรูปคำถามสามารถเขียนได้ 3 ลักษณะ คือ

                1. ประเด็นคำถามเชิงพรรณนา  ได้แก่ การกำหนดหัวข้อปัญหาวิจัยในรูปคำถามที่ว่า อะไรคือ อะไรเป็น” (What is) การตอบประเด็นคำถามดังกล่าวนี้ แสดงเป็นนัยว่า นักวิจัยจะต้องอาศัยการวิจัยเชิงสำรวจ 

                2. ประเด็นคำถามเชิงความสัมพันธ์ ได้แก่ การกำหนดหัวข้อปัญหาวิจัย ในรูปของคำถามที่มุ่งหาคำตอบว่า  ตัวแปร  มีความสัมพันธ์กับตัวแปร Y หรือไม่”  หรือ ตัวแปร  พยากรณ์ตัวแปร Y ได้หรือไม่ การสืบหาคำตอบของคำถามทั้ง 2 ประเด็นนี้ แสดงเป็นนัยว่านักวิจัยต้องออกแบบการวิจัยเป็นประเภทการศึกษาสหสัมพันธ์(correlation  design) 

                3. ประเด็นคำถามเชิงเปรียบเทียบ ได้แก่ การกำหนดหัวข้อปัญหาวิจัย ในรูปของคำถามที่มุ่งเน้นการเปรียบเทียบพฤติกรรมหรือปรากฏการณ์ที่สนใจระหว่างกลุ่มควบคุมที่ที่ดำเนินตามสภาวะปกติและกลุ่มทดลองที่จัดกระทำทางการทดลองขึ้น

 อ้างอิง

องอาจ นัยพัฒน์.[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/399427  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2555

อาทิวรรณ โชติพฤกษ์. [ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ http://www.gotoknow.org/posts/399427  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2555

http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2555

ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง(Review of Related Literatures)



   http://www.bestwitted.com/?tag=%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B5  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องไว้ว่า การทบทวนวรรณกรรม หมายถึง การศึกษาค้นคว้าเอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผู้วิจัยกำลังจะทำการศึกษา เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎี แนวคิด อันเชื่อมโยงมาสู่การกำหนดกรอบแนวคิดและตัวแปรที่เกี่ยวข้องซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ
จุดมุ่งหมายของการทบทวนวรรณกรรม

1.การอ้างอิงเชิงทฤษฎี (Theoretical Reference)
2.การอ้างอิงเชิงประจักษ์ (Empirical Reference)
จุดมุ่งหมายของการทบทวน เพื่อให้ทราบว่ามีผู้ใดเคยศึกษาหรือวิจัย มาก่อน เพื่อให้ทราบถึงวิธีการศึกษาของผู้วิจัยอื่นๆ เพื่อให้ทราบถึงปัญหา อุปสรรคที่เคยพบของงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
แหล่งของวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
1.หนังสือทั่วไป (General Books)
2.หนังสืออ้างอิง (Reference Book)
-สารานุกรม (Encyclopedia)
-พจนานุกรม (Dictionary)
-หนังสือรายปี (Yearbooks)
-บรรณานุกรม (Bibliographies)
-ดัชนีวารสาร (Periodical Indexes)
-นามานุกรม (Directories)
แหล่งของวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
-วิทยานิพนธ์ (Thesis)
-วารสาร (Journals)
-รายงานการวิจัย (Research Report)
-เอกสารทางราชการ
-ไมโครฟิล์ม
-หนังสือพิมพ์ (Newspaper)
ขั้นตอนในการทบทวนวรรณกรรม
-กำหนดขอบเขตของการทบทวนวรรณกรรม
-ค้นหาเอกสารหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
-การเลือกเอกสารและรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
-การอ่านเอกสาร
-บันทึกข้อมูล
-การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น
หลักการเขียนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
รูปแบบการอ้างอิง
อ้างอิงเชิงอรรถ (Footnote Style ) ท้ายหน้าที่อ้างอิง โดยมีชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ หรือ บทความ ปีที่พิมพ์และหมายเลขหน้า
อ้างอิงระบบ นาม  ปี (Author – Date Style) มีเฉพาะชื่อนามสกุล ปีที่พิมพ์ และหมายเลขหน้า โดยวงเล็บไว้หลังข้อความที่อ้างอิง
                http://www.nrru.ac.th/rdi/km/wp-content/uploads/2011/08/sim6.pdf  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องไว้ว่า การทบทวนวรรณกรรมฯ เป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในกระบวนการวิจัยและมีความเกี่ยวโยงกับขั้นตอนอื่นๆ ได้แก่การกำหนด สมมติฐาน การควบคุมตัวแปร ที่ใช้ในการวิจัย การกำหนดรูปแบบการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ถึงแม้ว่าขั้นตอนการกำหนดปัญหาการวิจัยจะเป็นขั้นตอนการแรกของกระบวนการวิจัยก็ตาม การทบทวนวรรณกรรมก็ควรจัดทำควบคู่ไปกับการกำหนดปัญหาการวิจัย เนื่องจากปัญหาที่ต้องการทำวิจัยในระยะแรก มักจะมีลักษณะกว้างเกินไป จนไม่สามารถวางแผนการวิจัยที่ชัดเจนได้ การทบทวนวรรณกรรม ในขั้นต้น จะช่วยในการกำหนดปัญหาให้แคบ และชัดเจนขึ้น ช่วยให้ผู้วิจัยมั่นใจในความเป็นไปได้ในการทำวิจัยในเรื่องนั้น
                          http://netra.lpru.ac.th/~phaitoon/RESEARCH/%C7%D4%A8%D1%C2%A1%D2%C3%C8%D6%A1%C9%D2/doc.htm ได้รวบรวมและกล่าวถึงทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องไว้ว่า การทบทวนวรรณกรรมหมายถึงเอกสารงานเขียนที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับหัวข้อปัญหาที่ผู้วิจัยสนใจ  วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอาจมีหลายลักษณะ เช่น เป็นตำรา สารานุกรม  พจนานุกรม นามานุกรม ดัชนี รายงานสถิติ หนังสือรายปี บทความในวารสาร จุลสาร  ที่สำคัญก็คือรายงานผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น  ผู้วิจัยจะต้องทำการสำรวจอ่านทบทวนอย่างพินิจพิเคราะห์  ทักษะที่สำคัญของการทำวิจัยในขั้นตอนนี้คือ ทักษะในการสืบค้นหาสารนิเทศจากแหล่งต่าง ๆ และทักษะในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
สรุป
                การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง หมายถึง การศึกษาค้นคว้าเอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผู้วิจัยกำลังจะทำการศึกษา เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎี แนวคิด อันเชื่อมโยงมาสู่การกำหนดกรอบแนวคิดและตัวแปรที่เกี่ยวข้องซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ
อ้างอิง
http://www.nrru.ac.th/rdi/km/wp-content/uploads/2011/08/sim6.pdf  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2555
http://netra.lpru.ac.th/~phaitoon/RESEARCH/%C7%D4%A8%D1%C2%A1%D2%C3%C8%D6%A1%C9%D2/doc.htm  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2555




ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย(Background & Rationale)


                 http://rforvcd.wordpress.com ได้รวบรวมและกล่าวถึงความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัยไว้ว่า ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย อาจเรียกแตกต่างกัน เช่น ความเป็นมาหรือความสำคัญของปัญหา  หลักการและเหตุผล ภูมิหลังของปัญหา ความจำเป็นที่จะทำการวิจัย หรือ ความสำคัญของโครงการวิจัย ฯลฯ รวมทั้งความจำเป็น คุณค่า และประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัยในเรื่องนี้ โดยผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาอย่างกว้างๆ ก่อนว่าสภาพทั่วๆไปของปัญหาเป็นอย่างไร และภายในสภาพที่กล่าวถึง  มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร
                การเขียนความเป็นมาหรือความสำคัญของปัญหาการวิจัยต้องเขียนให้หนักแน่น มีเหตุผลสนับสนุนที่น่าเชื่อถือ ชี้ประเด็นให้เห็นความสำคัญของการวิจัยอย่างแท้จริง กรณีที่เป็นศิลปนิพนธ์ให้อธิบายเหตุผลที่เลือกทำศิลปนิพนธ์เรื่องนี้ โดยอ้างทฤษฎีรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องปัญหาที่ต้องการทราบและความสำคัญหรือประโยชน์ของการทำศิลปนิพนธ์เรื่องนี้มาสนับสนุนเหตุผล ควรเขียนให้กระชับและให้ความชัดเจน จากเนื้อหาในมุมกว้างแล้วเข้าสู่ปัญหาของศิลปนิพนธ์ที่ทำ เพื่อให้สามารถโน้มน้าวให้ผู้อ่านหรือผู้อนุมัติโครงการวิจัยคล้อยตามว่าถ้าหากวิจัยแล้วจะเกิดคุณประโยชน์อย่างไร แล้วสรุปเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์การวิจัย
                http://www.gotoknow.org/posts/261202  ได้รวบรวมและกล่าวถึงความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัยไว้ว่า การเขียนความสำคัญและความเป็นมาของการวิจัย เป็นการเขียนเพื่อตอบคำถามว่าเหตุใดจึงต้องวิจัยเรื่องนี้ ข้อค้นพบจากการวิจัยจะนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร มีความคุ้มค่าหรือไม่ในการวิจัยเรื่องดังกล่าว นิยมเขียนเน้นความเรียงที่เน้นความเป็นเหตุเป็นผล มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของเนื้อหาสาระ โดยให้มีความกระชับเข้าใจง่าย การเขียนนำเข้าสู่ปัญหาวิจัยควรเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวปัญหา โดยเขียนให้ข้อมูลที่ชัดเจนว่า ณ เวลาปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยในอดีตที่สามารถตอบปัญหาดังกล่าวได้ และปัญหาดังกล่าวสมควรได้รับการแก้ไขด้วยการหาคำตอบ โดยกระบวนการวิจัย
                http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re4.htm  ได้รวบรวมและกล่าวถึงความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัยไว้ว่า ปัญหาการวิจัย   คือ ประเด็นที่นักวิจัยสงสัยและต้องการดำเนินการเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริง ทำให้มีลักษณะข้อสงสัยของผู้วิจัยต่อสถานการณ์ทั้งที่เป็นความแตกต่างและไม่แตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นจริงกับสิ่งที่คาดหวัง และที่สำคัญปัญหานั้นไม่สามารถหาคำตอบด้วยสามัญสำนึก
                ดังนั้น การกำหนดปัญหาการวิจัย   จึงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักสำหรับนักวิจัยที่จะกำหนดปัญหาการวิจัยที่ง่าย ชัดเจน และครบถ้วนสมบูรณ์ นักวิจัยส่วนมากอาจมีแนวความคิดที่สลับซับซ้อน บางคนอาจใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างแนวคิด และวิเคราะห์ ก่อนที่จะสามารถตัดสินใจได้ว่า ปัญหาการวิจัยที่เขาต้องการจะหาคำตอบที่แท้จริงคืออะไร
สรุป
                ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย อาจเรียกแตกต่างกัน เช่น ความเป็นมาหรือความสำคัญของปัญหา  หลักการและเหตุผล ภูมิหลังของปัญหา ความจำเป็นที่จะทำการวิจัย หรือ ความสำคัญของโครงการวิจัย การเขียนความเป็นมาหรือความสำคัญของปัญหาการวิจัยต้องเขียนให้หนักแน่น มีเหตุผลสนับสนุนที่น่าเชื่อถือ ชี้ประเด็นให้เห็นความสำคัญของการวิจัยอย่างแท้จริง เป็นการเขียนเพื่อตอบคำถามว่าเหตุใดจึงต้องวิจัยเรื่องนี้ ข้อค้นพบจากการวิจัยจะนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร มีความคุ้มค่าหรือไม่ในการวิจัยเรื่องดังกล่าว นิยมเขียนเน้นความเรียงที่เน้นความเป็นเหตุเป็นผล มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของเนื้อหาสาระ
                ดังนั้น การกำหนดปัญหาการวิจัย   จึงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักสำหรับนักวิจัยที่จะกำหนดปัญหาการวิจัยที่ง่าย ชัดเจน และครบถ้วนสมบูรณ์ นักวิจัยส่วนมากอาจมีแนวความคิดที่สลับซับซ้อน บางคนอาจใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างแนวคิด และวิเคราะห์ ก่อนที่จะสามารถตัดสินใจได้ว่า ปัญหาการวิจัยที่เขาต้องการจะหาคำตอบที่แท้จริงคืออะไร

อ้างอิง
http://rforvcd.wordpress.com  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2555
http://www.gotoknow.org/posts/261202   เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2555
http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re4.htm เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2555


ชื่อเรื่อง(The Title)


                http://www.watpon.com/Elearning/res19.htm   ได้รวบรวมและกล่าวถึง ชื่อเรื่องไว้ว่า ชื่อเรื่องวิจัยนับเป็นจุดแรกที่จะดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน และทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในปัญหารวมทั้งวิธีการดำเนินการวิจัยของผู้วิจัยอีกด้วย ดังนั้นการตั้งชื่อเรื่องวิจัยจึงต้องเขียนให้ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่เขียนอย่างคลุมเครือ ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงต้องระมัดระวังในการตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้เหมาะสม ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้

                1. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้สั้น โดยใช้คำที่เฉพาะเจาะจง หรือสื่อความหมายเฉพาะเรื่อง และควรเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย กะทัดรัด แต่ชื่อเรื่องก็ไม่ควรจะสั้นเกินไปจนทำให้ขาดความหมายทางวิชาการ

                2. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้ตรงกับประเด็นของปัญหา เมื่อผู้อ่านอ่านแล้วจะได้ทราบว่าเป็นการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาอะไรได้ทันที อย่างตั้งชื่อเรื่องวิจัยที่ทำให้ผู้อ่านตีความได้หลายทิศทาง และอย่าพยายามทำให้ผู้อ่านเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากเกินความเป็นจริง

                3. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยโดยการใช้คำที่บ่งบอกให้ทราบถึงประเภทของการวิจัย ซึ่งจะทำให้ชื่อเรื่องชัดเจน และเข้าใจง่ายขึ้น เช่น

                3.1 การวิจัยเชิงสำรวจ มักใช้คำว่า การสำรวจ หรือการศึกษาในชื่อเรื่องวิจัยหรืออาจระบุตัวแปรเลยก็ได้ เช่น การศึกษาการใช้สารเคมีของชาวอีสาน หรือการสำรวจการใช้สารเคมีของชาวอีสาน หรือการใช้สารเคมีของชาวอีสาน เป็นต้น

                3.2 การวิจัยเชิงศึกษาเปรียบเทียบ การตั้งชื่อเรื่องวิจัยในลักษณะนี้ มักจะใช้คำว่า การศึกษา เปรียบเทียบ หรือการเปรียบเทียบ นำหน้า เช่น การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านของนักเรียนในเขตและนอกเขตเทศบาล ของจังหวัดมหาสารคาม

                3.3 การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ การวิจัยประเภทนี้จะใช้คำว่า การศึกษาความสัมพันธ์ หรือความสัมพันธ์ นำหน้าชื่อเรื่องวิจัย เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งกับพ่อแม่และการปรับตัวของวัยรุ่น เป็นต้น

                3.4 การวิจัยเชิงการศึกษาพัฒนาการ การวิจัยประเภทนี้มักใช้คำว่า การศึกษาพัฒนาการหรือพัฒนาการ นำหน้าชื่อเรื่องวิจัย เช่น การศึกษาพัฒนาการด้านการเขียนของเด็กก่อนวัยเรียนในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม

                3.5 การวิจัยเชิงทดลอง การตั้งชื่อเรื่องวิจัยประเภทนี้อาจตั้งชื่อได้แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของการทดลอง เช่น อาจใช้คำว่า การทดลอง การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การศึกษา การเปรียบเทียบ ฯลฯ นำหน้า หรือาจจะไม่ใช้คำเหล่านี้นำหน้าก็ได้ เช่น การทดลองเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในจังหวัดอ่างทอง การวิเคราะห์หาปริมาณของกรดอะมิโนที่จำเป็นในปลายรากข้าวโพดหลังจากแช่ในสารละลายน้ำตาลชนิดต่าง ๆ การสังเคราะห์กรดไขมันจากอะเซติลโคเอ การศึกษาองค์ประกอบต่าง ๆ ในยางมะละกอ การเปรียบเทียบการสอนอ่านโดยวิธีใช้ไม่ใช้การฟังประกอบ การสกัดสารอินดิเคเตอร์จากดอกอัญชัน ฯลฯ

                4. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยในลักษณะของคำนาม ซึ่งจะทำให้เกิดความไพเราะ สละสลวยกว่าการใช้คำกริยานำหน้าชื่อเรื่อง เช่น แทนที่จะใช้คำว่า ศึกษา เปรียบเทียบ สำรวจ ก็ควรใช้คำที่มีลักษณะเป็นคำนามนำหน้า เช่น การศึกษา การเปรียบเทียบ การสำรวจ ฯลฯ

                5. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยที่ประกอบด้วยข้อความเรียงที่สละสลวยได้ใจความสมบูรณ์ คือเป็นชื่อเรื่องที่ระบุให้ทราบตั้งแต่จุดมุ่งหมายของการวิจัย ตัวแปร และกลุ่มตัวอย่างที่จะศึกษาวิจัยด้วย เช่น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการสอบคัดเลือกกับเกรดเฉลี่ยสะสมและเจตคติต่อวิชาชีพครูของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2544

             http://school.obec.go.th/bandai/caimax/max5.htm ได้รวบรวมและกล่าวถึง ชื่อเรื่องไว้ว่า เมื่อผู้จัดทำโครงงานได้เรื่องที่จะทำแล้วก็จะนำเรื่องที่จะทำมาตั้งเป็นชื่อเรื่อง ซึ่งในการตั้งชื่อเรื่อง มีเทคนิคที่สำคัญในการดึงดูดความสนใจของผู้ชม หรือผู้ที่สนใจในการโครงงานของเรา ควรมีหลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อโครงงานดังนี้

                1. ควรตั้งชื่อให้ตรงกับเรื่องที่จะทำ ควรอยู่ในกรอบของแนวความคิดในเรื่องที่ทำ

                2. ชื่อเรื่องควรสั้นกระทัดรัด  มีความหมายให้สื่อได้ตรงกับเรื่องที่ทำ ไม่ควรตั้งชื่อเรื่องยาวเกินไป

                3. การตั้งชื่อเรื่องไม่ควรตั้งเป็นประโยคคำถาม

                4. ชื่อเรื่องควรเร้าความสนใจของผู้ที่มาดูผลงานของเรา สามารถดึงดูดความสนใจของผู้อื่นได้

                5. การตั้งชื่อเรื่องสามารถนำตัวแปรต้น และตัวแปรตาม มาเขียนรวมกันเป็นชื่อเรื่องก็ได้ เช่น

การศึกษาอิทธิพลของแสงมีผลต่อการเจริญเติบดตของพืช เป็นต้น

                        http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsithamrat/sujiraporn_p/book/sec02p02.html ได้รวบรวมและกล่าวถึง ชื่อเรื่องไว้ว่า หน้าชื่อเรื่อง คือ หน้าที่บอกเพียงชื่อหนังสือเท่านั้น ถ้าเป็นหนังสือชุดจะมีชื่อชุดที่หน้านี้ด้วยหน้าชื่อเรื่องจะทำหน้าที่แทนปกชั่วคราวเมื่อปกหลุด  มีหนังสือบางเล่มเท่านั้นที่จะมีหน้าชื่อเรื่องสำหรับหนังสือที่แบ่งเป็นตอน จะบอกชื่อตอนคั่นระหว่างเนื้อหา  เช่น ตอนที่หนึ่ง ภาคทฤษฎี หรือ ภาคผนวก หน้านี้จะเรียกว่า หน้าบอกตอน

สรุป

                ชื่อเรื่องวิจัยนับเป็นจุดแรกที่จะดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน และทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในปัญหารวมทั้งวิธีการดำเนินการวิจัยของผู้วิจัยอีกด้วย ดังนั้นการตั้งชื่อเรื่องวิจัยจึงต้องเขียนให้ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่เขียนอย่างคลุมเครือ ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงต้องระมัดระวังในการตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้เหมาะสม ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้

                1. ชื่อเรื่องควรสั้นกระทัดรัด  มีความหมายให้สื่อได้ตรงกับเรื่องที่ทำ ไม่ควรตั้งชื่อเรื่องยาวเกินไป                2. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้ตรงกับประเด็นของปัญหา เมื่อผู้อ่านอ่านแล้วจะได้ทราบว่าเป็นการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาอะไรได้ทันที อย่างตั้งชื่อเรื่องวิจัยที่ทำให้ผู้อ่านตีความได้หลายทิศทาง และอย่าพยายามทำให้ผู้อ่านเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากเกินความเป็นจริง

                3. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยโดยการใช้คำที่บ่งบอกให้ทราบถึงประเภทของการวิจัย ซึ่งจะทำให้ชื่อเรื่องชัดเจน และเข้าใจง่ายขึ้น

                4. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยในลักษณะของคำนาม ซึ่งจะทำให้เกิดความไพเราะ สละสลวยกว่าการใช้คำกริยานำหน้าชื่อเรื่อง เช่น แทนที่จะใช้คำว่า ศึกษา เปรียบเทียบ สำรวจ ก็ควรใช้คำที่มีลักษณะเป็นคำนามนำหน้า เช่น การศึกษา การเปรียบเทียบ การสำรวจ ฯลฯ

                5. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยที่ประกอบด้วยข้อความเรียงที่สละสลวยได้ใจความสมบูรณ์ คือเป็นชื่อเรื่องที่ระบุให้ทราบตั้งแต่จุดมุ่งหมายของการวิจัย ตัวแปร และกลุ่มตัวอย่างที่จะศึกษาวิจัยด้วย เช่น การศึกษาความสัมพันธ์

อ้างอิง

http://www.watpon.com/Elearning/res19.htm เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2555

http://school.obec.go.th/bandai/caimax/max5.htm เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2555

http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsithamrat/sujiraporn_p/book/sec02p02.html เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2555