วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกาเย (Gagne’s eclecticism)


            http://uthailand.wordpress.com/2011/08/17/gagne/     ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า  โรเบิร์ต กาเย่  (Robert  Gagne) เชื่อว่าความรู้มีหลายประเภท  บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง  บางประเภทมีความซับซ้อนจำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง 
             หลักการและแนวคิด
1)   ผลการเรียนรู้หรือความสามารถด้านต่าง ๆ  ของมนุษย์   ซึ่งมีอยู่  5  ประเภท  คือ
             – ทักษะทางปัญญา  (Intellectual  skill)  ซึ่งประกอบด้วยการจำแนกแยกแยะ  การสร้างความคิดรวบยอด   การสร้างกฎ   การสร้างกระบวนการหรือกฎชั้นสูง
             –  กลวิธีในการเรียนรู้ (Cognitive  strategy)
            –  ภาษาหรือคำพูด (verbal  information)
              -  ทักษะการเคลื่อนไหว (motor  skills)
             -  และเจตคติ (attitude)
             2)    กระบวนการเรียนรู้และจดจำของมนุษย์   มนุษย์มีกระบวนการจัดกระทำข้อมูลในสมอง   ซึ่งมนุษย์จะอาศัยข้อมูลที่สะสมไว้มาพิจารณาเลือกจัดกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  และในขณะที่กระบวนการจัดกระทำข้อมูลภายในสมองกำลังเกิดขึ้น   เหตุการณ์ภายนอกร่างกายมนุษย์มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมหรือการยับยั้งการ เรียนรู้ที่เกิดขึ้นภายในได้  
            เสนอแนะว่า ควรมีการจัดสภาพการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับการเรียนรู้แต่ละประเภท   ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน  และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ภายในสมอง   โดยการจัดสภาพภายนอกให้เอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้ภายในของผู้เรียน
            http://www.kroobannok.com/92   ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า โรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gange') ได้นำเอาแนวแนวความคิด 9 ประการ มาใช้ประกอบการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้บทเรียนที่เกิดจากการออกแบบในลักษณะการเรียนการสอนจริง โดยยึดหลักการนำเสนอเนื้อหาและจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หลักการสอนทั้ง 9 ประการได้แก่
            1. เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention)
            2. บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective)
            3. ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knoeledge)
            4. นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information)
            5. ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning)
            6. กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response)
            7. ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback)
            8. ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance)
            9. สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer)
            ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ  (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486)%20%20%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89   ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า โรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gange') มีแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  ความรู้มีหลายประเภท  บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง  บางประเภทมีความซับซ้อนมาก  จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด 9  ขั้น  ดังนี้
            ขั้นที่  1  สร้างความสนใจ(Gaining attention)
            ขั้นที่  2  แจ้งจุดประสงค์(Informing the learning)
            ขั้นที่  3  กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น(Stimulating recall of prerequisite learned capabilities)
            ขั้นที่  4  เสนอบทเรียนใหม่(Presenting the stimulus)
            ขั้นที่  5  ให้แนวทางการเรียนรู้(Providing learning guidance)
            ขั้นที่  6  ให้ลงมือปฏิบัติ(Eliciting the performance)
            ขั้นที่  7  ให้ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback)
            ขั้นที่  8  ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์(Assessing the performance)
            ขั้นที่  9  ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้(Enhancing retention and transfer)

สรุป
            ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกาเย ความรู้มีหลายประเภท  บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง  บางประเภทมีความซับซ้อนจำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนจะต้องมีการสร้างความสนใจให้แก่ผู้เรียน กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง

เอกสารอ้างอิง
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกาเย.[ออนไลน์]ชื่อเว็บไซต์: http://uthailand.wordpress.com/2011/08/17/gagne/  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม  2555
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกาเย.[ออนไลน์]ชื่อเว็บไซต์: http://www.kroobannok.com/92   เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม  2555
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ  (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486)%20%20%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม  2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น