http://yingjiraporn.blogspot.com/2010/06/constructivism-learning-theory.html ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า
ทฤษฎีนี้ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการแปลความหมายและสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ต่างๆ
และถือว่าสมองเป็นเครื่องมือสำคัญที่บุคคลใช้ในการแปลความหมายของปรากฏการณ์ต่างๆในโลกนี้ซึ่งการแปลความหมายของแต่ละคนจะขึ้นกับการรับรู้
ประสบการณ์ ความเชื่อความต้องการ ความสนใจ
และภูมิหลังของแต่ละบุคคลซึ่งมีความแตกต่างกันดังนั้นการสร้างความหมายของข้อมูลความรู้และประสบการณ์ต่างๆขึงเป็นเรื่องเฉพาะตนที่บุคคลจะต้องใช้กระบวนการทางสติปัญญาในการจัดกระทำ
(Acting
on) มิใช่เพียงการรับ (Taking in) ข้อมูลเท่านั้น
www.edu.cru.in.th/anuchit/it5202/10.doc
ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์
รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย
การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป
http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Learning_Constructivism.htm
ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่มีพื้นฐานทางจิตวิทยา
ปรัชญา และมนุษยวิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากจิตวิทยาด้านปัญญา เป็นทฤษฎี ที่อธิบายถึง
การได้มาซึ่งความรู้ และนำความรู้นั้นมาเป็นของตนได้อย่างไร ซึ่งเพอร์กิน
ได้อธิบายว่า Constructivism คือ การ ที่ผู้เรียน
ไม่ได้รับเอาข้อมูล และเก็บข้อมูลความรู้นั้นมาเป็นของตนทันที แต่จะแปลความหมาย
ของข้อมูลความรู้เหล่านั้น โดย ประสบการณ์ของตน และเสริมขยาย
และทดสอบการแปลความหมายของตนด้วย ซึ่งสัมพันธ์กับทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญา
ของพีอาเจย์ การเรียนรู้เกิดจาก การค้นพบและประสบการณ์ ทฤษฎีนี้เกิดจาก
ความคิดที่ว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่ แต่ละบุคคลได้สร้าง ความรู้ขึ้นและ
ทำให้สำเร้จ โดยผ่านกระบวนการ ของความสมดุล ซึ่งกลไกของความสมดุล เป็นการปรับตัว
ของตนเอง ให้เข้ากับ สิ่งแวดล้อม เพื่อให้อยู่ใน สภาพสมดุล
สรุป
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการแปลความหมายและสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ต่างๆ
รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ
เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล
เอกสารอ้างอิง
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง.[ออนไลน์]ชื่อเว็บไซต์: http://yingjiraporn.blogspot.com/2010/06/constructivism-learning-theory.html เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่
3
กรกฎาคม 2555
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง.[ออนไลน์]ชื่อเว็บไซต์: www.edu.cru.in.th/anuchit/it5202/10.doc
เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่
3
กรกฎาคม 2555
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง.[ออนไลน์]ชื่อเว็บไซต์: http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Learning_Constructivism.htm เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่
3
กรกฎาคม 2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น