วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT)


                http://elearning.northcm.ac.th/it/lesson1.asp  ได้รวบรวมและกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม
                http://www.chakkham.ac.th/technology/techno1/c2-3.htm  ได้รวบรวมและกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ  หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
                http://www.thaigoodview.com/node/55440  ได้รวบรวมและกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึงการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอน วิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวข้องกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้แล้วยังรวมไปถึง โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ ฯลฯ

สรุป
            เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูล เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอน วิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล

เอกสารอ้างอิง
http://elearning.northcm.ac.th/it/lesson1.asp  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม  2555
http://www.chakkham.ac.th/technology/techno1/c2-3.htm  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม  2555
http://www.thaigoodview.com/node/55440   เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม  2555

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เทคโนโลยี (Technology)


                http://www.oknation.net/blog/kang1989/2008/06/30/entry-3   ได้รวบรวมและกล่าวถึงเทคโนโลยีไว้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆ เทคโนโลยี เป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติ แก่มวลมนุษย์กล่าวคือเทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                http://www.kmutt.ac.th/av/HTML/techno/note.htm  ได้รวบรวมและกล่าวถึงเทคโนโลยีไว้ว่าเทคโนโลยี เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น
            ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม
สรุป
            เทคโนโลยี เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์ เป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติ และเป็นความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม

เอกสารอ้างอิง
เทคโนโลยี.[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์: http://www.oknation.net/blog/kang1989/2008/06/30/entry-3     เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม  2555
เทคโนโลยี.[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์: http://www.kmutt.ac.th/av/HTML/techno/note.htm    เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม  2555
ผดุงยศ ดวงมาลา.[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์: http://jankhuk.exteen.com/20090619/entry  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม  2555

วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation)


                http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138   ได้รวบรวมและกล่าวถึงนวัตกรรมทางการศึกษาไว้ว่า นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm)
                http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=40.0  ได้รวบรวมและกล่าวถึงนวัตกรรมทางการศึกษาไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
            สำลี ทองธิว (2526 : 3) ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมการศึกษาเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาทางการศึกษา หรือเพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลง สิ่งที่มีอยู่เดิมให้ได้ มาตรฐานคุณภาพเพิ่มขึ้น ผู้สร้างนวัตกรรมจะคำนึงถึงว่า นวัตกรรมที่สร้างขึ้นมาจะต้องดีกว่าของเดิมคือ จะต้องได้รับประโยชน์มากกว่าเดิม หรือมีความสะดวกมากขึ้น ไม่ยากต่อการใช้ ตรงกับความต้องการของผู้ใช้

สรุป
            นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นวัตกรรมทางการศึกษาจะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย
อ้างอิง
นวัตกรรมทางการศึกษา.[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์: http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138   เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม  2555
นวัตกรรมทางการศึกษา.[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์: http://www.banprak-nfe.com  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม  2555
สำลี ทองธิว.[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์: http://teacher80std.blogspot.com  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม  2555

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

นวัตกรรม (Innovation)


            ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมไว้ว่า นวัตกรรม หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
            http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138  ได้รวบรวมและกล่าวถึงนวัตกรรมไว้ว่า  นวัตกรรมหมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
            http://www.jeedbuddy.com/forumindex.php?topic=1033.0  ได้รวบรวมและกล่าวถึงนวัตกรรมไว้ว่า นวัตกรรม คือ สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม นวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญามีความสัมพันธ์อย่างยิ่งกับการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เนื่องจาก เป็นกลไกที่รัฐออกกฎหมายขึ้นเพื่อคุ้มครองผลงานวิจัยและพัฒนา อันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ ความอุตสาหะและความเสียสละทั้งเงินทุนและเวลา เพื่อทำการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม 

สรุป
            นวัตกรรม หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ  ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

อ้างอิง
ไชยยศ เรืองสุวรรณ.[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์: http://www.banprak-nfe.com  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม  2555
http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม  2555
http://www.jeedbuddy.com/forumindex.php?topic=1033.0  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม  2555

วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Theory of Cooperative or Collaborative Learning)



            http://supanida-opal.blogspot.com/ ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า การเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งเป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่ง ที่เน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติงานเป็นกลุ่มย่อย โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถที่แตกต่างกัน เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ของแต่ละคน สนับสนุนให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ หรือทีม ตามระบอบประชาธิปไตย และเป็นการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ทำให้สามารถปรับตัวอยู่กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
                http://www.oknation.net/blog/nam-peth/2008/08/01/entry-1  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า แนวคิดขอทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 36 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้  มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด  มีการสัมพันธ์กัน  มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม  และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่ หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน  และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม  เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่มเดียว
            ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486)  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้

สรุป
            ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นทฤษฎีที่มีการเรียนรู้ร่วมกันที่เน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติงานเป็นกลุ่มย่อย โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถที่แตกต่างกันเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ของแต่ละคนเพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้

เอกสารอ้างอิง
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ.[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์:
http://supanida-opal.blogspot.com/  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม  2555
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ.[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์:
http://www.oknation.net/blog/nam-peth/2008/08/01/entry-1  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม  2555
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ.[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์: http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486    เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม  2555

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)



                http://theory-tishafan.blogspot.com/p/constructionism.html   ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า แนวความคิดของทฤษฎีนี้คือ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและด้วยตนเองของผู้เรียน หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน และเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดสิ่งใดขึ้นมาในโลก ก็หมายถึงการสร้างความรู้ขึ้นในตนเองนั่นเอง ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้นในตนเองนี้ จะมีความหมายต่อผู้เรียน จะอยู่คงทน ผู้เรียนจะไม่ลืมง่าย และจะสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเจ้าใจความคิดของตนได้ดี
            ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486)   ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง  หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น  
                http://www.gotoknow.org/blogs/posts/396220  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง  หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น    หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ  ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน  ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน  เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ  ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย
สรุป
            ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานตนเอง  เป็นทฤษฎีที่เชื่อว่า การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและด้วยตนเองของผู้เรียน หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมก็จะทำให้ความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน

เอกสารอ้างอิง
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานตนเอง.[ออนไลน์]ชื่อเว็บไซต์: http://theory-tishafan.blogspot.com/p/constructionism.html เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม  2555
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ.[ออนไลน์]ชื่อเว็บไซต์: http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม  2555
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานตนเอง.[ออนไลน์]ชื่อเว็บไซต์: http://theory-tishafan.blogspot.com/p/constructionism.html เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม  2555

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)


                http://yingjiraporn.blogspot.com/2010/06/constructivism-learning-theory.html  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฎีนี้ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการแปลความหมายและสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ต่างๆ และถือว่าสมองเป็นเครื่องมือสำคัญที่บุคคลใช้ในการแปลความหมายของปรากฏการณ์ต่างๆในโลกนี้ซึ่งการแปลความหมายของแต่ละคนจะขึ้นกับการรับรู้ ประสบการณ์ ความเชื่อความต้องการ ความสนใจ และภูมิหลังของแต่ละบุคคลซึ่งมีความแตกต่างกันดังนั้นการสร้างความหมายของข้อมูลความรู้และประสบการณ์ต่างๆขึงเป็นเรื่องเฉพาะตนที่บุคคลจะต้องใช้กระบวนการทางสติปัญญาในการจัดกระทำ (Acting on) มิใช่เพียงการรับ (Taking in) ข้อมูลเท่านั้น
            www.edu.cru.in.th/anuchit/it5202/10.doc  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์  รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ  เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล  นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว  ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย  การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป
            http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Learning_Constructivism.htm   ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า  เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่มีพื้นฐานทางจิตวิทยา ปรัชญา และมนุษยวิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากจิตวิทยาด้านปัญญา เป็นทฤษฎี ที่อธิบายถึง การได้มาซึ่งความรู้ และนำความรู้นั้นมาเป็นของตนได้อย่างไร ซึ่งเพอร์กิน ได้อธิบายว่า Constructivism คือ การ ที่ผู้เรียน ไม่ได้รับเอาข้อมูล และเก็บข้อมูลความรู้นั้นมาเป็นของตนทันที แต่จะแปลความหมาย ของข้อมูลความรู้เหล่านั้น โดย ประสบการณ์ของตน และเสริมขยาย และทดสอบการแปลความหมายของตนด้วย ซึ่งสัมพันธ์กับทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญา ของพีอาเจย์ การเรียนรู้เกิดจาก การค้นพบและประสบการณ์ ทฤษฎีนี้เกิดจาก ความคิดที่ว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่ แต่ละบุคคลได้สร้าง ความรู้ขึ้นและ ทำให้สำเร้จ โดยผ่านกระบวนการ ของความสมดุล ซึ่งกลไกของความสมดุล เป็นการปรับตัว ของตนเอง ให้เข้ากับ สิ่งแวดล้อม เพื่อให้อยู่ใน สภาพสมดุล

สรุป
            ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง  เป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการแปลความหมายและสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ต่างๆ รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ  เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล 

เอกสารอ้างอิง
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง.[ออนไลน์]ชื่อเว็บไซต์: http://yingjiraporn.blogspot.com/2010/06/constructivism-learning-theory.html    เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม  2555
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง.[ออนไลน์]ชื่อเว็บไซต์: www.edu.cru.in.th/anuchit/it5202/10.doc     เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม  2555
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง.[ออนไลน์]ชื่อเว็บไซต์: http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Learning_Constructivism.htm เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม  2555

วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีพหุปัญญา(Theory of Multiple Intelligences)


            ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486)  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ  2  ประการ คือ
1.  เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น  แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน  ประกอบด้วย
-   เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical mathematical intelligence)
-   สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily kinesthetic intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist intelligence)
เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้  คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น  และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน
2.   เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้  หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
                http://www.babybestbuy.in.th/shop/theory_of_multiple_intelligences  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) เสนอแนวคิดนี้ว่า สติปัญญาของมนุษย์มีหลายด้านที่มีความสำคัญเท่าเทียมกัน ขึ้นอยู่กับว่าใครจะโดดเด่นในด้านไหนบ้าง แล้วแต่ละด้านผสมผสานกัน แสดงออกมาเป็นความสามารถในเรื่องใด เป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคนไป
            ในปี พ.ศ. 2526 การ์ดเนอร์ ได้เสนอว่าปัญญาของมนุษย์มีอยู่อย่างน้อย 7 ด้าน คือ ด้านภาษา ด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านดนตรี ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านการเข้าใจตนเอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ได้เพิ่มเติมเข้ามาอีก 1 ด้าน คือ ด้านธรรมชาติวิทยา เพื่อให้สามารถอธิบายได้ครอบคลุมมากขึ้น จึงสรุปได้ว่า พหุปัญญา ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ ในปัจจุบันมีปัญญาอยู่อย่างน้อย 8 ด้าน ดังนี้
1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)   คือ ความสามารถในการใช้ภาษารูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ภาษาพื้นเมือง จนถึงภาษาอื่นๆ ด้วย สามารถรับรู้ เข้าใจภาษา และสามารถสื่อภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตามที่ต้องการ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น กวี นักเขียน นักพูด นักหนังสือพิมพ์ ครู ทนายความ หรือนักการเมือง
2. ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical Intelligence)  คือ ความสามารถในการคิดแบบมีเหตุและผล การคิดเชิงนามธรรม การคิดคาดการณ์ และการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น นักบัญชี นักสถิติ นักคณิตศาสตร์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักเขียนโปรแกรม หรือวิศวกร
3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual-Spatial Intelligence)  คือ ความสามารถในการรับรู้ทางสายตาได้ดี สามารถมองเห็นพื้นที่ รูปทรง ระยะทาง และตำแหน่ง อย่างสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน แล้วถ่ายทอดแสดงออกอย่างกลมกลืน มีความไวต่อการรับรู้ในเรื่องทิศทาง สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น จะมีทั้งสายวิทย์ และสายศิลป์
4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily Kinesthetic Intelligence)  คือ ความสามารถในการควบคุมและแสดงออกซึ่งความคิด ความรู้สึก โดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงความสามารถในการใช้มือประดิษฐ์ ความคล่องแคล่ว ความแข็งแรง ความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น ความประณีต และความไวทางประสาทสัมผัส สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักกีฬา หรือไม่ก็ศิลปินในแขนง นักแสดง นักฟ้อน นักเต้น นักบัลเล่ย์ หรือนักแสดงกายกรรม
5. ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)  คือ ความสามารถในการซึมซับ และเข้าถึงสุนทรียะทางดนตรี ทั้งการได้ยิน การรับรู้ การจดจำ และการแต่งเพลง สามารถจดจำจังหวะ ทำนอง และโครงสร้างทางดนตรีได้ดี และถ่ายทอดออกมาโดยการฮัมเพลง เคาะจังหวะ เล่นดนตรี และร้องเพลง สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักดนตรี นักประพันธ์เพลง หรือนักร้อง
6. ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence) คือ ความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น ทั้งด้านความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และเจตนาที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน มีความไวในการสังเกต สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง สามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสม สร้างมิตรภาพได้ง่าย เจรจาต่อรอง ลดความขัดแย้ง สามารถจูงใจผู้อื่นได้ดี เป็นปัญญาด้านที่จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกคน แต่สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นครูบาอาจารย์ ผู้ให้คำปรึกษา นักการฑูต เซลแมน พนักงานขายตรง พนักงานต้อนรับ ประชาสัมพันธ์ นักการเมือง หรือนักธุรกิจ
7. ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence)  คือ ความสามารถในการรู้จัก ตระหนักรู้ในตนเอง สามารถเท่าทันตนเอง ควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสมตามกาลเทศะ และสถานการณ์ รู้ว่าเมื่อไหร่ควรเผชิญหน้า เมื่อไหร่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อไหร่ต้องขอความช่วยเหลือ มองภาพตนเองตามความเป็นจริง รู้ถึงจุดอ่อน หรือข้อบกพร่องของตนเอง ในขณะเดียวกันก็รู้ว่าตนมีจุดแข็ง หรือความสามารถในเรื่องใด มีความรู้เท่าทันอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ความคาดหวัง ความปรารถนา และตัวตนของตนเองอย่างแท้จริง เป็นปัญญาด้านที่จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกคนเช่นกัน เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า และมีความสุข สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักคิด นักปรัชญา หรือนักวิจัย
8. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligence)  คือ ความสามารถในการรู้จัก และเข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง เข้าใจกฎเกณฑ์ ปรากฏการณ์ และการรังสรรค์ต่างๆ ของธรรมชาติ มีความไวในการสังเกต เพื่อคาดการณ์ความเป็นไปของธรรมชาติ มีความสามารถในการจัดจำแนก แยกแยะประเภทของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักธรณีวิทยา นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย หรือนักสำรวจธรรมชาติ
                http://thesisavenue.blogspot.com/2008/09/theory-of-multiple-intelligences.html   ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า Gardner (1993) พบว่า ความสามารถของแต่ละบุคคลมีอย่างน้อย 8 ด้าน บุคคลทุกคนมีความสามารถทุกด้าน แต่ไม่เท่ากัน และมักจะมีความสามารถด้านใดด้านหนึ่งที่เด่นกว่าด้านอื่น นอกจากนี้ยังพบว่าบุคคลต้องใช้ความสามารถทุกด้านในการดำรงชีวิตด้วย และความสามารถนั้นไม่ได้แยกจากกัน มีความเกี่ยวพันกัน ซึ่งสมองส่วนต่างๆ เป็นตัวควบคุม เมื่อสมองส่วนใดส่วนหนึ่งถูกทาลาย ความสามารถทางด้านนั้นจะบกพร่องไป และเมื่อความสามารถด้านพัฒนาสูงสุดจะทาให้เกิดความภาคภูมิใจ มีผลทาให้อยากจะพัฒนาความสามารถด้านอื่นๆ ที่ยังบกพร่องให้พัฒนาเพิ่มขึ้นมาอีก

สรุป
            ทฤษฎีพหุปัญญา เป็นทฤษฎีที่ มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ  2  ประการ คือ
1. เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น  แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน
2. เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้  หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
            และความสามารถของแต่ละบุคคลมีอย่างน้อย 8 ด้าน บุคคลทุกคนมีความสามารถทุกด้าน แต่ไม่เท่ากัน และมักจะมีความสามารถด้านใดด้านหนึ่งที่เด่นกว่าด้านอื่น มนุษย์ต้องใช้ความสามารถทุกด้านในการดำรงชีวิตด้วย และความสามารถนั้นไม่ได้แยกจากกัน มีความเกี่ยวพันกัน

เอกสารอ้างอิง
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ.[ออนไลน์]ชื่อเว็บไซต์:(http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม  2555
ทฤษฎีพหุปัญญา.[ออนไลน์]ชื่อเว็บไซต์:http://www.babybestbuy.in.th/shop/theory_of_multiple_intelligences  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม  2555
ทฤษฎีพหุปัญญา.[ออนไลน์]ชื่อเว็บไซต์: http://thesisavenue.blogspot.com/2008/09/theory-of-multiple-intelligences.html  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม  2555

ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory)


           
            http://www.oknation.net/blog/print.php?id=132965   ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า เป็นทฤษฎีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฎีนี้เริ่มได้รับความนิยมมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 จวบจนปัจจุบัน โดยมีผู้เรียกชื่อในภาษาไทยหลายชื่อ เช่น ทฤษฎีประมวลสารข้อมูลข่าวสาร ทฤษฎีการประมวลผลข้อมูลสารสนเทศ ในที่นี้ จะใช้เรียกว่าทฤษฎีการประมวลสาร ทฤษฎีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมีความคล้ายคลึงกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ คลอสเมียร์ (Klausmeier,1985:108) ได้อธิบายการเรียนรู้ของมนุษย์โดยเปรียบเทียบการทำงานของคอมพิวเตอร์กับการทำงานของสมอง ซึ่งมีการทำงานเป็นขั้นตอนดังนี้ คือ
1.      การรับข้อมูล (Input) โดยผ่านทางอุปกรณ์หรือเครื่องรับข้อมูล
2.      การเข้ารหัส (Encoding) โดยอาศัยชุดคำสั่งหรือซอฟต์แวร์ (Software)
3.      การส่งข้อมูลออก (Output) โดยผ่านทางอุปกรณ์
            ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486)  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing Theory)  เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์  โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง  ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า  การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์
           www.oknation.net/blog/print.php?id=294321/ ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์  โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง  ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์   หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น  จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน  สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย  หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ ได้เป็นเวลานาน  สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส(encoding)  เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว  วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี  เช่น การท่องจำซ้ำๆ  การทบทวน  หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด

สรุป
            ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล เป็นทฤษฎีที่ทฤษฎีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง และมีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์  เป็นการนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น

เอกสารอ้างอิง
ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล.[ออนไลน์]ชื่อเว็บไซต์: http://www.oknation.net/blog/print.php?id=132965  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม  2555
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ.[ออนไลน์]ชื่อเว็บไซต์(http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม  2555
ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล.[ออนไลน์]ชื่อเว็บไซต์:  www.oknation.net/blog/print.php?id=294321/  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม  2555

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกาเย (Gagne’s eclecticism)


            http://uthailand.wordpress.com/2011/08/17/gagne/     ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า  โรเบิร์ต กาเย่  (Robert  Gagne) เชื่อว่าความรู้มีหลายประเภท  บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง  บางประเภทมีความซับซ้อนจำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง 
             หลักการและแนวคิด
1)   ผลการเรียนรู้หรือความสามารถด้านต่าง ๆ  ของมนุษย์   ซึ่งมีอยู่  5  ประเภท  คือ
             – ทักษะทางปัญญา  (Intellectual  skill)  ซึ่งประกอบด้วยการจำแนกแยกแยะ  การสร้างความคิดรวบยอด   การสร้างกฎ   การสร้างกระบวนการหรือกฎชั้นสูง
             –  กลวิธีในการเรียนรู้ (Cognitive  strategy)
            –  ภาษาหรือคำพูด (verbal  information)
              -  ทักษะการเคลื่อนไหว (motor  skills)
             -  และเจตคติ (attitude)
             2)    กระบวนการเรียนรู้และจดจำของมนุษย์   มนุษย์มีกระบวนการจัดกระทำข้อมูลในสมอง   ซึ่งมนุษย์จะอาศัยข้อมูลที่สะสมไว้มาพิจารณาเลือกจัดกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  และในขณะที่กระบวนการจัดกระทำข้อมูลภายในสมองกำลังเกิดขึ้น   เหตุการณ์ภายนอกร่างกายมนุษย์มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมหรือการยับยั้งการ เรียนรู้ที่เกิดขึ้นภายในได้  
            เสนอแนะว่า ควรมีการจัดสภาพการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับการเรียนรู้แต่ละประเภท   ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน  และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ภายในสมอง   โดยการจัดสภาพภายนอกให้เอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้ภายในของผู้เรียน
            http://www.kroobannok.com/92   ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า โรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gange') ได้นำเอาแนวแนวความคิด 9 ประการ มาใช้ประกอบการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้บทเรียนที่เกิดจากการออกแบบในลักษณะการเรียนการสอนจริง โดยยึดหลักการนำเสนอเนื้อหาและจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หลักการสอนทั้ง 9 ประการได้แก่
            1. เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention)
            2. บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective)
            3. ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knoeledge)
            4. นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information)
            5. ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning)
            6. กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response)
            7. ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback)
            8. ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance)
            9. สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer)
            ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ  (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486)%20%20%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89   ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า โรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gange') มีแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  ความรู้มีหลายประเภท  บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง  บางประเภทมีความซับซ้อนมาก  จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด 9  ขั้น  ดังนี้
            ขั้นที่  1  สร้างความสนใจ(Gaining attention)
            ขั้นที่  2  แจ้งจุดประสงค์(Informing the learning)
            ขั้นที่  3  กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น(Stimulating recall of prerequisite learned capabilities)
            ขั้นที่  4  เสนอบทเรียนใหม่(Presenting the stimulus)
            ขั้นที่  5  ให้แนวทางการเรียนรู้(Providing learning guidance)
            ขั้นที่  6  ให้ลงมือปฏิบัติ(Eliciting the performance)
            ขั้นที่  7  ให้ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback)
            ขั้นที่  8  ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์(Assessing the performance)
            ขั้นที่  9  ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้(Enhancing retention and transfer)

สรุป
            ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกาเย ความรู้มีหลายประเภท  บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง  บางประเภทมีความซับซ้อนจำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนจะต้องมีการสร้างความสนใจให้แก่ผู้เรียน กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง

เอกสารอ้างอิง
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกาเย.[ออนไลน์]ชื่อเว็บไซต์: http://uthailand.wordpress.com/2011/08/17/gagne/  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม  2555
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกาเย.[ออนไลน์]ชื่อเว็บไซต์: http://www.kroobannok.com/92   เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม  2555
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ  (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486)%20%20%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม  2555

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)



                http://dit.dru.ac.th/home/023/human/08.htm ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า ผู้นำสำคัญในกลุ่มมนุษย์นิยม ได้แก่ คาร์ล โรเจอร์ (Calr R. Rogers, 1902-1987) และ แมสโลว์ (Abraham H. Maslow, 1908-1970) คำอธิบายของกลุ่มนี้ถือว่าสมัยใหม่ สอดคล้องกับสังคมเปิดและสังคมประชาธิปไตย ได้ชื่อว่า พลังที่สาม (the third force) ซึ่งบางคมเรียกว่า คลื่นลูกที่สาม (the third wave) ความเชื่อเบื้องต้นของกลุ่มจิตวิทยามนุษย์นิยม มีดังนี้
            1. มนุษย์มีจิตใจ ต้องการความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจ ทั้งยังมีขีดความสามารถเฉพาะตัว ไม่ใช่จะกำหนดให้เป็นอะไรก็ได้ตามใจชอบของคนอื่น ซึ่งตรงข้ามกับแนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมที่เห็นว่าเราสามารถกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ด้วยกันได้
            2. มนุษย์แต่ละคนเป็นผู้ซึ่งพยายามที่จะรู้จัก เข้าใจตนเอง และต้องการบรรลุศักยภาพสูงสุดของตน (self acturalization) จึงไม่ยากนักที่จะเสริมสร้างให้บุคคลคิดวิเคราะห์ เข้าใจตน และนำจุดดีมาใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาเอง
            3. ข้อบังคับและระเบียบวินัยไม่สู้จำเป็นนักสำหรับผู้พัฒนาแล้ว ทุกคนต่างมุ่งสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ให้แก่ตนถ้าเขาได้รับการยอมรับ ดังนั้น จุดเริ่มต้นของการพัฒนาตนจึงอยู่ที่การยอมรับตนเองและผู้อื่นให้ได้ก่อน
            4. บุคคลที่พร้อมต่อการปรับปรุงตนเองควรจะได้มีสิทธิเลือกการกระทำเลือกประสบการณ์ กำหนดความต้องการ และตัดสินใจเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยตนเอง (self mastery) เป็นการ ออกแบบชีวิต ที่เหมาะสมตามทิศทางของเขา
            5. วิธีการแสวงหาความรู้หรือข้อเท็จจริง สำคัญกว่าตัวความรู้หรือตัวข้อเท็จจริง เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ตัวของความรู้หรือตัวข้อเท็จจริงจะไม่ใช่สิ่งตายตัว ดังนั้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่ออนาคตของบุคคลมากที่สุดก็คือกรรมวิธีในการเสาะแสวงหาความรู้ ไม่ใช่เน้นที่ตัวความรู้เพียงอย่างเดียว
            http://courseware.rmutl.ac.th/courses/43/unit913.htm    ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่านักจิตวิทยากลุ่มนี้ เช่น คาร์ล โรเจอร์ กล่าวว่า มนุษย์มีศักยภาพตามธรรมชาติที่จะเรียนรู้ และการเรียนรู้จะได้ผลดีหากการเรียนรู้นั้นมีความหมาย หรือเป็นสิ่งที่ผู้เรียนสนใจอยากรู้อย่างแท้จริง ส่วน มาสโลว์ (Maslow) เน้นเรื่องการเรียนรู้เป็นการพัฒนาตนเองไปสู่ความเจริญสูงสุดของ ตน ( Self Actualization ) โดยเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเป็นดีโดยกำเนิด ทุกคนต้องการกระทำดี ต้องการพัฒนาศักยภาพของตนไปจนเจริญสูงสุด
สรุปแล้ว นักจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยมเน้นว่า การเรียนรู้จะได้ผลดีหากผู้เรียนมีความเป็นอิสระ ปราศจากสิ่งรบกวน ข่มขู่หรือขัดขวาง
            http://dontong52.blogspot.com/   ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า นักคิดกลุ่มมนุษยนิยม ให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์ และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่ามีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ นักจิตวิทยาคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ มาสโลว์ รอเจอร์ส โคม ดนเลส์ แฟร์ อิลลิซ และนีล
1. ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ (Maslow, 1962)
            1.1) มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับชั้น
            1.2) มนุษย์มีความต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง
2. ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์ส (Rogers)
            2.1) การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้อบอุ่น ปลอดภัย
            2.2) ผู้เรียนแต่ละคนมีศักยภาพและแรงจูงใจที่จะพัฒนาตนเองอยู่แล้ว
            2.3) ในการจัดการเรียนการสอนควรเน้นการเรียนรู้กระบวนการเป็นสำคัญ
3. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์ (Combs)
            โคมส์ เชื่อว่าความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก เพราะความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
4. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของ โนลส์ (Knowles)
            4.1) ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
            4.2) การเรียนรู้ของมนุษย์เป็นกระบวนการภายใน
            4.3) มนุษย์จะเรียนรู้ได้ดีหากมีอิสระที่จะเรยนในสิ่งที่ตนต้องการ
            4.4) มนุษย์ทุกคนมีลักษณะเฉพาะตน
            4.5) มนุษย์เป็นผู้มีความสามารถและเสรีภาพที่จะตัดสินใจ
5. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์ (Faire)  
            เปาโล แฟร์ เชื่อในทฤษฎีของผู้ถูกกดขี่ ผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจากการกดขี่ของครูที่สอนแบบเก่า
6. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอลลิช (Illich)
            อิวาน อิลลิช ได้เสนอความคิดเกี่ยวกับการล้มเลิกระบบโรงเรียน การศึกษาควรเป็นการศึกษาตลอดชีวิตแบบเป็นไปตามธรรมชาติ

สรุป
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม เป็นทฤษฎีที่ ให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์ และมองมนุษย์ว่าศักยภาพตามธรรมชาติที่จะเรียนรู้ การเรียนรู้จะได้ผลดีหากผู้เรียนมีความเป็นอิสระ ปราศจากสิ่งรบกวน ข่มขู่หรือขัดขวาง


เอกสารอ้างอิง
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม.[ออนไลน์]ชื่อเว็บไซต์: http://dit.dru.ac.th/home/023/human/08.htm  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2555
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม.[ออนไลน์]ชื่อเว็บไซต์: http://courseware.rmutl.ac.th/courses/43/unit913.htm  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2555
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม.[ออนไลน์]ชื่อเว็บไซต์: http://dontong52.blogspot.com/  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2555