วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

การเสริมสร้างสมรรถภาพ

              การออกกําลังกาย นอกจากจะช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางกายแล้ว ยังมีประโยชน์อื่นๆ อีกเช่น รูปร่างดีขึ้น  ชะลอความเสื่อมของอวัยวะ  ช่วยให้ผู้มีอาการผิดปกติมีอาการดีขึ้น  ระบบขับถ่ายดีขึ้น นอนหลับได้ดี  หัวใจ  ปอดและหลอดเลือดทําหน้าที่ได้ดีขึ้น  ช่วยให้อาการของโรคหลายโรคดีขึ้น  ช่วยให้ตั้งครรภ์และคลอดได้ง่ายขึ้น  ช่วยประหยัดค่ารักษาพยาบาลเพราะมีแอนติบอดีสูง สรุปแล้วก็คือการมีสุขภาพดีนั่นเองค่ะ

 หลักการฝึกเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย.
                   สำหรับบางคนอาจมีคำถามว่า การออกกำลังกายแบบไหนจึงจะพัฒนาสมรรถภาพได้ดีที่สุด มีปัจจัยสําคัญ 4 ประการที่ควรพิจารณาตอบคําถามดังกล่าวคือ
            1. ความถี่ของการฝึก ควรฝึกหรือออกกําลังกาย 3-5 วันต่อสัปดาห์ หรือฝึกวันเว้นวันก็ได้   
            2. ความเข้มของการฝึก การฝึกควรมีความเข้มพอควร โดยให้อัตราการเต้นของหัวใจที่เป็นเป้าหมายอยู่ระหว่าง 60-90 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจ (ตรวจสอบโดยการจับชีพจรแทน) ในขั้นต้นนี้ เราสามารถคํานวณหาอัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจได้ โดยใช้สูตร
                             อัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจ (HRmax)     =  220 - อายุ
              ในกรณีที่เป็นการออกกําลังกายแบบแอโรบิกนั้น จะต้องให้อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ระหว่าง 70-85 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจ จึงจะเป็นผลดีต่อสุขภาพโดยรวมๆ
                   
            3. ระยะเวลาของการฝึก (Duration of Training) แบ่งออกได้ดังนี้
                        3.1 ระยะเวลาในการฝึกต่อครั้ง  การออกกําลังกายที่เข้มและต่อเนื่องควรใช้เวลาระหว่าง 
5 - 30 นาทีต่อวัน แต่ถ้าเป็นการออกกําลังกายเพื่อสุขภาพ ซึ่งความเข้มจะตํ่าหรือปานกลาง จะต้องใช้เวลา 15 - 60 นาที หรือมากกว่า
                        3.2 ระยะเวลาในการฝึกต่อสัปดาห์ จะใช้ 3-5 วันต่อสัปดาห์ หรือฝึกวันเว้นวัน
            4. แบบของการออกกําลังกาย (Mode of Exercise) โดยทั่วไปการออกกําลังกายจะต้องคํานึงถึง การใช้กล้ามเนื้อใหญ่ ความต่อเนื่องของกิจกรรม ความเป็นจังหวะ และการใช้ออกซิเจนแบบธรรมชาติ  กิจกรรมที่ส่งเสริมลักษณะดังกล่าว ได้แก่ ว่ายนํ้า วิ่งเร็วสลับวิ่งเหยาะ  ขี่จักรยาน พายเรือ  วิ่งทางไกล  กระโดดเชือก  รวมถึงการเล่นกีฬาต่างๆ ทุกชนิด